ครั้งแรกและครั้งสุดท้ายที่ดิฉันไปแถบ
“ อีสาน” คือเมื่อสมัยที่เรียนอยู่มหาวิทยาลัยปีสอง
ซึ่งนั่นมันเมื่อ 30 ปีมาแล้ว ถึงประเทศไทยจะไม่ใหญ่โตนัก แต่ไม่น่าเชื่อว่าจะมีใครมีความ
“เชย ”ได้เท่านี้ ความที่มีประสบการณ์ยุ่งยากลำบากลำบนในการเดินทางไปเที่ยวครั้งแรก(เมื่อ
30กว่าปีก่อน) จึงทำให้ไม่ประทับใจจนไม่คิดอยากไปอีก ดังนั้นโปรแกรมการเที่ยว
อีสานของดิฉันจึงถูกมองข้ามไปอย่างไร้เยื่อใยตลอดมา
สามสิบปีผ่านไป วันนี้โชคชะตาหมุนกลับมาสู่วงจรเดิมอีกครั้ง ในที่สุด การเดินทางไปในทิศตะวันออกเฉียงเหนือของดิฉันก็เริ่มต้นขึ้น ซึ่งนับเป็นสิ่งที่ดี ตรงที่หลังจากจบการเดินทาง ความคิดของดิฉันก็เปลี่ยนไป อดคิดไม่ได้ว่า เราช่างโชคดีเหลือเกินที่ได้มีโอกาสไปเห็นอีสานในยุคนี้ มิฉะนั้น เราก็คงจะแก่ตายไปพร้อมกับภาพเก่าๆ โดยไม่รู้ว่าวันใดจะมีโอกาสได้ออกจากกะลาไปดูโลกที่เปลี่ยนแปลงไปเช่นทุกวันนี้
การท่องเที่ยวของดิฉันและคณะทัวร์ชราภาพ มีจุดหมายปลายทางที่เมืองบุรีรัมย์ ซึ่งครั้งหนึ่งในสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช เมืองนี้ได้ถูกเรียกขานว่า “ เมืองแป๊ะ” ตามชื่อของชัยภูมิที่เป็นที่ตั้งเมือง ซึ่งเป็นป่าทุ่งต้นแป๊ะอันกว้างใหญ่ในสมัยนั้น สำหรับผู้ที่อยากเห็นต้นแป๊ะ คงต้องเดินทางไปดูที่จังหวัดบุรีรัมย์ ที่ยังคงมีปลูกไว้บนเกาะกลางถนนในตัวเมือง มากมาย (ลักษณะคล้ายต้นตะโก)
สามสิบปีผ่านไป วันนี้โชคชะตาหมุนกลับมาสู่วงจรเดิมอีกครั้ง ในที่สุด การเดินทางไปในทิศตะวันออกเฉียงเหนือของดิฉันก็เริ่มต้นขึ้น ซึ่งนับเป็นสิ่งที่ดี ตรงที่หลังจากจบการเดินทาง ความคิดของดิฉันก็เปลี่ยนไป อดคิดไม่ได้ว่า เราช่างโชคดีเหลือเกินที่ได้มีโอกาสไปเห็นอีสานในยุคนี้ มิฉะนั้น เราก็คงจะแก่ตายไปพร้อมกับภาพเก่าๆ โดยไม่รู้ว่าวันใดจะมีโอกาสได้ออกจากกะลาไปดูโลกที่เปลี่ยนแปลงไปเช่นทุกวันนี้
การท่องเที่ยวของดิฉันและคณะทัวร์ชราภาพ มีจุดหมายปลายทางที่เมืองบุรีรัมย์ ซึ่งครั้งหนึ่งในสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช เมืองนี้ได้ถูกเรียกขานว่า “ เมืองแป๊ะ” ตามชื่อของชัยภูมิที่เป็นที่ตั้งเมือง ซึ่งเป็นป่าทุ่งต้นแป๊ะอันกว้างใหญ่ในสมัยนั้น สำหรับผู้ที่อยากเห็นต้นแป๊ะ คงต้องเดินทางไปดูที่จังหวัดบุรีรัมย์ ที่ยังคงมีปลูกไว้บนเกาะกลางถนนในตัวเมือง มากมาย (ลักษณะคล้ายต้นตะโก)
วันเดินทาง คณะของเรามุ่งขึ้นทิศเหนือเพื่อไปยังจังหวัดสระบุรี อันเป็นจุดที่จะแยกทิศในการเดินทาง
สิ่งที่ดิฉันปรารถนาอยากเห็นเป็นสิ่งแรกในการเดินทางคือ จุดที่เรียกว่า “ สระบุรีเลี้ยวขวา” เพื่ออยากทบทวนความทรงจำของการเดินทางครั้งก่อน
แต่ดูเหมือนว่ารถจะผ่านจุดนี้ไปเมื่อใดก็ไม่ทันรู้ตัว เมื่อถามหาจึงได้คำตอบว่าเราผ่านมานานแล้ว
เหตุนี้เองที่ทำให้เริ่มเข้าใจแล้วว่า ช่วงเวลาที่ผ่านไป ความเจริญได้แผ่ขยายออกมามาก
จนดูเหมือนว่าบ้านเมืองไร้รอยต่อ สระบุรีเลี้ยวขวาในสมัยเมื่อสามสิบปีที่แล้ว เคยเป็นที่โล่ง
เปลี่ยว และร้อนระอุ ปัจจุบันกลายเป็นชุมชนใหญ่ที่หาที่ว่างแทบไม่เจอ การจราจรหนาแน่นจนต้องใช้ทางยกระดับในการเลี้ยวขวา
นาทีนั้น รู้สึกว่าตัวเองกำลังกลายเป็นกบชราตัวหนึ่ง
เราเดินทางแบบสบายๆมาประมาณ 3 ชั่วโมง จึงถึงอำเภอสี่คิ้ว จังหวัดนครราชสีมา อันเป็น จุดแรกที่เราแวะชมคือ วัดบ้านโนนกุ่ม ซึ่งเป็นวัดที่ดาราภาพยนต์ชื่อดัง สรพงศ์ ชาตรี ได้ริเริ่มสร้างวิหารที่สวยงามอลังการ ด้วยงบลงทุนกว่า 500 ล้านบาทไว้ เพื่อประดิษฐาน “ หลวงปู่โต พรหมรังสี”
เราเดินทางแบบสบายๆมาประมาณ 3 ชั่วโมง จึงถึงอำเภอสี่คิ้ว จังหวัดนครราชสีมา อันเป็น จุดแรกที่เราแวะชมคือ วัดบ้านโนนกุ่ม ซึ่งเป็นวัดที่ดาราภาพยนต์ชื่อดัง สรพงศ์ ชาตรี ได้ริเริ่มสร้างวิหารที่สวยงามอลังการ ด้วยงบลงทุนกว่า 500 ล้านบาทไว้ เพื่อประดิษฐาน “ หลวงปู่โต พรหมรังสี”
บรรยากาศโดยรอบของวัดดูสะอาดตา
แม้ไม่สงบนัก เนื่องจากมีนักท่องเที่ยวเข้ามาพร้อมๆกันหลายคณะจนแน่นทางเดิน แต่ถึงกระนั้น
คุณสรพงศ์ฯ ก็ยังมาคอยให้การต้อนรับคณะนักท่องเที่ยวทุกคณะอย่างไม่รู้สึกเหน็ดเหนื่อย
ต้องขอชื่นชมวัดนี้ที่มีการจัดการด้านระบบการต้อนรับซึ่งรวมไปถึงความ สะอาดของบริเวณโดยรอบได้อย่างดีเยี่ยม อาจเป็นเพราะทุกคนรู้จักคุณสรพงศ์ ฯ ทางวัดจึงได้รับความร่วมมือเป็นอย่างดีจากผู้ที่มาเยี่ยมชม ที่เชื่อเช่นนี้เพราะไม่ว่าจะไปทางไหนหรือทำอะไรในบริเวณวัด ก็มักจะพบป้ายขอร้องจากคุณสรพงศ์ฯเสมอ แม้แต่ขณะที่ไปเข้าห้องน้ำ ก็ยังต้องกระมิดกระเมี้ยน เนื่องจากมีป้ายติดอยู่ในระดับสายตาขณะนั่งใช้บริการในห้องสุขาพอดีว่า
ต้องขอชื่นชมวัดนี้ที่มีการจัดการด้านระบบการต้อนรับซึ่งรวมไปถึงความ สะอาดของบริเวณโดยรอบได้อย่างดีเยี่ยม อาจเป็นเพราะทุกคนรู้จักคุณสรพงศ์ ฯ ทางวัดจึงได้รับความร่วมมือเป็นอย่างดีจากผู้ที่มาเยี่ยมชม ที่เชื่อเช่นนี้เพราะไม่ว่าจะไปทางไหนหรือทำอะไรในบริเวณวัด ก็มักจะพบป้ายขอร้องจากคุณสรพงศ์ฯเสมอ แม้แต่ขณะที่ไปเข้าห้องน้ำ ก็ยังต้องกระมิดกระเมี้ยน เนื่องจากมีป้ายติดอยู่ในระดับสายตาขณะนั่งใช้บริการในห้องสุขาพอดีว่า
“ โปรดช่วยกันรักษาความสะอาด
…….
ลงชื่อ สรพงศ์ ชาตรี ”
เสร็จจากการเยี่ยมชมวัดบ้านโนนกุ่ม เรามุ่งหน้าไปยังอำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์ เพื่อรับประทานอาหารกลางวันที่นั่น และแม้จะเลยเวลาไปบ้างแต่ความสนุกสนานบนรถ ทำให้เราลืมความหิวไปชั่วขณะ เมื่อถึงอำเภอนางรอง จะเห็นร้านขายข้าวขาหมูหลายร้านมาก จึงเข้าใจว่าอาหารที่มีชื่อเสียงของอำเภอนี้ ก็คือ ขาหมูพะโล้ นั่นเอง แต่วันนั้นเราไม่ได้แวะรับประทานข้าวขาหมู จึงไม่ทราบว่าร้านไหนที่อร่อยสุดกันแน่
มื้อกลางวันของเรา เป็นร้านอาหารชื่อไพเราะถูกใจที่เราหยุดรับประทานคือร้าน “ บ้านกับต้นไม้” ตั้งอยู่ในอำเภอนางรอง ซึ่งเป็นเมืองแรกของจังหวัดบุรีรัมย์ และเป็นเขตชายแดนติดกับจังหวัด
นครราชสีมา
เมนูมื้อนี้เป็นเมนูVersion E-SARN แท้ๆ ซึ่งประกอบด้วย ไก่ย่างท่าช้าง อันเลื่องชื่อ และ ผัดหมี่โคราช
ที่อยากลองชิมเพราะได้ยินชื่อมานาน อีกทั้งส้มตำรสจัดจ้าน และ หมูย่างน้ำตก พร้อมด้วยอาหารแบบฉบับสุดยอดของชาวอีสาน
อีกหลายชนิด
ความที่ไม่คุ้นเคยกับอาหารรสจัดแบบอีสานแท้ๆ ( เคยทานแต่อีสานในกรุงเทพ
รสเด็กๆ) การรับประทานอาหารมื้อนี้จึงค่อนข้างลำบากสักหน่อย เนื่องจากเป็นอาหารรสจัดไปเสียทุกอย่าง
ทำให้กระเพาะปรับตัวไม่ทัน แถมปากยังเผ็ดร้อนด้วยรสส้มตำที่ถูก เสริฟอย่างไม่อั้นอีกด้วย ในขณะที่ทุกคนกำลังสำราญกับอาหารบนโต๊ะ ดิฉันก็ตั้งหน้าตั้งตารับประทานเพียงไก่ย่างสไตล์
ท่าช้าง ซึ่งคัดสรรไก่หุ่นนางแบบมาย่างจนเนื้อแห้ง
หอมกรุ่น จนจำไม่ได้ว่ารับประทานไปมากเท่าใด
ในช่วงหนึ่งของความชุลมุนก็มีสมาชิกในโต๊ะตักอาหารชนิดหนึ่งมาให้ ดูผ่านๆรู้สึกดีใจเพราะคิดว่านี่คือผัดหมี่โคราชที่รอคอยมานาน จึงรีบตักแบ่งมาใส่จานอย่างเปรมปรีดิ์ แต่เมื่อตักคำแรกเข้าปาก ก็ถึงกับสำลักในความเค็ม เพราะอาหารจานนี้หาใช่ผัดหมี่โคราชไม่ แต่กลับเป็นหัวไชโปวฝอยผัดเค็มๆ ที่มีหน้าตาคล้ายหมี่ผัดนั่นเอง ด้วยความอาย จึงจำต้องกล้ำกลืนไชโปวผัดลงคอไปอย่างยากเย็น ตามด้วยน้ำหลายแก้ว และจบด้วยขนมถ้วยฟูเมล็ดสีเขียวเล็กๆอีกถุงใหญ่ แถมยังเพิ่ม Option พิเศษด้วยการแอบซุกขนมนี้ใส่กระเป๋าไว้รับประทานบนรถอีกต่างหาก
ในช่วงหนึ่งของความชุลมุนก็มีสมาชิกในโต๊ะตักอาหารชนิดหนึ่งมาให้ ดูผ่านๆรู้สึกดีใจเพราะคิดว่านี่คือผัดหมี่โคราชที่รอคอยมานาน จึงรีบตักแบ่งมาใส่จานอย่างเปรมปรีดิ์ แต่เมื่อตักคำแรกเข้าปาก ก็ถึงกับสำลักในความเค็ม เพราะอาหารจานนี้หาใช่ผัดหมี่โคราชไม่ แต่กลับเป็นหัวไชโปวฝอยผัดเค็มๆ ที่มีหน้าตาคล้ายหมี่ผัดนั่นเอง ด้วยความอาย จึงจำต้องกล้ำกลืนไชโปวผัดลงคอไปอย่างยากเย็น ตามด้วยน้ำหลายแก้ว และจบด้วยขนมถ้วยฟูเมล็ดสีเขียวเล็กๆอีกถุงใหญ่ แถมยังเพิ่ม Option พิเศษด้วยการแอบซุกขนมนี้ใส่กระเป๋าไว้รับประทานบนรถอีกต่างหาก
ขนมที่ซุกมานี้ สามารถสร้างประโยชน์ให้แก่ดิฉันเป็นอย่างยิ่ง
เพราะช่วงที่เราเดินทางมาถึงเขตเมืองบุรีรัมย์ คณะของเราก็แวะชมวนอุทยาน “ เขากระโดง” ที่เราต้องขึ้นไปนมัสการพระพุทธรูปประจำจังหวัดบุรีรัมย์บนยอดเขาซึ่งมี
บันไดทางขึ้นกว่า 200 ขั้น จำได้ว่าเมื่อกลับลงมาถึงรถ ขนมในถุงก็หมดในพริบตา
“เขากระโดง” ตั้งอยู่ในเขตเมืองบุรีรัมย์ อันเป็นสถานที่ต่อไปที่เราแวะเยี่ยมชม เขานี้เป็นยอดภูเขาไฟเก่าที่ยังคงปรากฏปล่องภูเขาไฟอายุกว่าเจ็ดแสนปีให้เห็น
บนยอดเขายังเป็นที่ตั้งของพระสุภัทรบพิตร ที่เราขึ้นไปกราบพร้อมกับชมทัศนียภาพของเมืองบุรีรัมย์อีกด้วย
การขึ้นไปยังยอดเขาสามารถไปได้สองทางคือ ทางบันได
200 ขั้น และทางรถซึ่งใช้ได้แค่รถขนาดเล็กเท่านั้น
ความที่เห็นสาวๆเดินขึ้นทางบันไดอย่างทะมัดทะแมง ก็เลยคิดว่าตัวเองคงจะขึ้นได้เหมือนเขา ครั้นพอขึ้นไปได้แค่ครึ่งทางก็ดูเหมือนว่าจะไปไม่รอด หันไปมองคนข้างๆ เพื่อหวังจะขอความช่วยเหลือ แต่พอเห็นหน้าซีดๆของเขาขณะนั้น ดิฉันก็เปลี่ยนใจเพราะคงจะพากันตกเขาเป็นแน่ ด้วยความกลัวเสียหน้า จึงต้องกัดฟันยกขาตัวเองขึ้นไปให้ถึงยอดเขาให้ได้
ความที่เห็นสาวๆเดินขึ้นทางบันไดอย่างทะมัดทะแมง ก็เลยคิดว่าตัวเองคงจะขึ้นได้เหมือนเขา ครั้นพอขึ้นไปได้แค่ครึ่งทางก็ดูเหมือนว่าจะไปไม่รอด หันไปมองคนข้างๆ เพื่อหวังจะขอความช่วยเหลือ แต่พอเห็นหน้าซีดๆของเขาขณะนั้น ดิฉันก็เปลี่ยนใจเพราะคงจะพากันตกเขาเป็นแน่ ด้วยความกลัวเสียหน้า จึงต้องกัดฟันยกขาตัวเองขึ้นไปให้ถึงยอดเขาให้ได้
จนถึงสิบขั้นสุดท้าย
ก็แทบจะยกขาไม่ขึ้น มองเห็นแก้วน้ำที่น้องๆนำมารอไว้ให้อยู่ข้างบน
แต่ไม่มีปัญญาจะไปให้ถึงได้ คราวนี้ยอมหน้าแตก โดยขอเกาะแขนคนที่เดินมาข้างๆ จำไม่ได้ว่าเป็นใคร
(เพราะตาลายแล้ว) ให้ช่วยลากขึ้นไปอย่างยากเย็น เมื่อถึงยอดเขา ก็ได้แต่นั่งลงบนพื้นหญ้า และไม่สามารถเดินไปไหนได้อีกจนถึงเวลากลับ
ช่วงที่กลับลงมา เห็นคนอื่นเดินลงบันไดไป อย่างไม่เหน็ดเหนื่อย ส่วนตัวดิฉันรีบวิ่งขึ้นรถตู้ที่มาให้บริการอย่างว่องไว โดยสามารถลงมาถึงเชิงเขาได้ก่อนคนอื่นถึงสิบห้านาที
เมื่อลงมาจากเขากระโดง คณะทัวร์คนชราก็รีบเร่งเดินทางต่อไปยัง ปราสาทเขาพนมรุ้ง ให้ทันกับแสงอาทิตย์ ซึ่งกำลังจะตกลับขอบเขา เพราะ “ ปราสาทเขาพนมรุ้ง” ตั้งอยู่ที่ ตำบลตาเป็ก อำเภอเฉลิมพระเกียรติ ซึ่งห่างออกไปอีกประมาณ 30 กิโลเมตร เพื่อชมความงามของสถาปัตยกรรม สมัยขอมโบราญอันเลื่องชื่อ ซึ่งเป็นสัญญาลักษณ์ของเมืองบุรีรัมย์นั่นเอง
ช่วงที่กลับลงมา เห็นคนอื่นเดินลงบันไดไป อย่างไม่เหน็ดเหนื่อย ส่วนตัวดิฉันรีบวิ่งขึ้นรถตู้ที่มาให้บริการอย่างว่องไว โดยสามารถลงมาถึงเชิงเขาได้ก่อนคนอื่นถึงสิบห้านาที
เมื่อลงมาจากเขากระโดง คณะทัวร์คนชราก็รีบเร่งเดินทางต่อไปยัง ปราสาทเขาพนมรุ้ง ให้ทันกับแสงอาทิตย์ ซึ่งกำลังจะตกลับขอบเขา เพราะ “ ปราสาทเขาพนมรุ้ง” ตั้งอยู่ที่ ตำบลตาเป็ก อำเภอเฉลิมพระเกียรติ ซึ่งห่างออกไปอีกประมาณ 30 กิโลเมตร เพื่อชมความงามของสถาปัตยกรรม สมัยขอมโบราญอันเลื่องชื่อ ซึ่งเป็นสัญญาลักษณ์ของเมืองบุรีรัมย์นั่นเอง
เป็นอันรู้กันว่าเมืองนี้เป็นเมืองที่อุดมไปด้วยปราสาทหิน
หากผู้ใดมาถึงแล้วไม่มาเที่ยวชมปราสาท ก็จะไม่มีโอกาสได้รู้จักถึงรากเหง้าอันเก่าแก่ของชาวบุรีรัมย์อย่างแท้จริง
การไปเที่ยวปราสาทหินควรจะไปในช่วงบ่าย
หรือเช้า เนื่องจากอากาศไม่ร้อนมาก เพราะปราสาทหินทั้งหมดตั้งเด่นอยู่บนยอดเขาทั้งสิ้น
ในบริเวณที่ตั้งกลุ่มอาคารฯไม่มีต้นไม้ขึ้นมากนัก จึงทำให้อากาศโดยรอบร้อนในช่วงกลางวัน
เรามาถึง “ ปราสาทหินเขาพนมรุ้ง” ในตอนบ่ายแก่ๆ ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่ดีมาก เพราะอากาศเย็นสบาย แถมยังได้เห็นพระอาทิตย์ตกขอบฟ้าอันสุดสวยงามอีกด้วย และที่ถูกใจที่สุดคือ ทางขึ้นปราสาท แม้จะมีบันไดมากแต่ช่วงไม่สูงเกินไป โดยจะมีทางลาดให้เดินชมนกชมไม้หลายช่วง บรรยากาศของกลุ่มอาคารปราสาทถูกบูรณะให้มีความสวยงามกลมกลืนไปกับธรรมชาติ เราจึงขึ้นมาถึงที่ตั้งของปราสาทได้โดยที่ยังไม่เหนื่อยเท่าใดนัก
เรามาถึง “ ปราสาทหินเขาพนมรุ้ง” ในตอนบ่ายแก่ๆ ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่ดีมาก เพราะอากาศเย็นสบาย แถมยังได้เห็นพระอาทิตย์ตกขอบฟ้าอันสุดสวยงามอีกด้วย และที่ถูกใจที่สุดคือ ทางขึ้นปราสาท แม้จะมีบันไดมากแต่ช่วงไม่สูงเกินไป โดยจะมีทางลาดให้เดินชมนกชมไม้หลายช่วง บรรยากาศของกลุ่มอาคารปราสาทถูกบูรณะให้มีความสวยงามกลมกลืนไปกับธรรมชาติ เราจึงขึ้นมาถึงที่ตั้งของปราสาทได้โดยที่ยังไม่เหนื่อยเท่าใดนัก
ปราสาทฯแห่งนี้สร้างขึ้นเพื่อเป็นศาสนสถานของศาสนาฮินดู ลัทธิไศวนิกาย โดยมีความเชื่อว่าภูเขาเป็นสัญลักษณ์ของเขาไกรลาส
ซึ่งเป็นแกนกลางของจักรวาลและเป็นที่ประทับของพระศิวะ ดังจะเห็นว่าที่ปรางค์ประธานมีภาพจำหลักลวดลายของลัทธิไศวนิกายปรากฏให้เห็น
จำนวนมาก สันนิษฐานว่าบริเวณนี้เคยเป็นที่ตั้งของชุมชนโบราณขนาดใหญ่ เพราะโดยรอบๆบริเวณใกล้เคียงจะเป็นศาสนสถานที่เป็นปราสาทหินอยู่หลายแห่ง
และมีแหล่งน้ำขนาดใหญ่สองแห่งคือ อ่างเก็บน้ำหนองบัวราย ที่เชิงเขาพนมรุ้งและสระน้ำโคกเมือง
ที่อยู่ใกล้กับปราสาทเมืองต่ำ
อดคิดไม่ได้ว่าปราสาทหินต่างๆที่เราเห็นนั้น คนโบราณเขาสร้างปราสาทราชวังด้วยหินก้อนใหญ่ที่มีน้ำหนักมากๆบนยอดเขาสูงได้ อย่างไร ในเมื่อสมัยนั้นไม่มีเครื่องมือก่อสร้างที่ทันสมัย ช่วยทุ่นแรงเหมือนเช่นทุกวันนี้ การก่อสร้างคงยาวนานหลายยุคหลายสมัยเป็นแน่ ปราสาทหินพนมรุ้งนี้ ถูกทิ้งร้างไปเมื่อยุคขอมเสื่อมอำนาจลง จนมามีการค้นพบและขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถานในปี พ.ศ.2478 และกลายมาเป็นอุทยานประวัติศาสตร์ในทุกวันนี้
อดคิดไม่ได้ว่าปราสาทหินต่างๆที่เราเห็นนั้น คนโบราณเขาสร้างปราสาทราชวังด้วยหินก้อนใหญ่ที่มีน้ำหนักมากๆบนยอดเขาสูงได้ อย่างไร ในเมื่อสมัยนั้นไม่มีเครื่องมือก่อสร้างที่ทันสมัย ช่วยทุ่นแรงเหมือนเช่นทุกวันนี้ การก่อสร้างคงยาวนานหลายยุคหลายสมัยเป็นแน่ ปราสาทหินพนมรุ้งนี้ ถูกทิ้งร้างไปเมื่อยุคขอมเสื่อมอำนาจลง จนมามีการค้นพบและขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถานในปี พ.ศ.2478 และกลายมาเป็นอุทยานประวัติศาสตร์ในทุกวันนี้
สิ่งที่น่าสนใจบนปราสาทหินแห่งนี้คือ
สะพานนาคราช ที่เป็นส่วนเชื่อมทางเดินกับบันไดขึ้นสู่ปราสาท ซึ่งเป็นรูปพญานาคห้าเศียรแผ่รัศมี
มีลวดลายอ่อนช้อยสวยงาม
องค์ปรางค์ประธาน เป็นส่วนสำคัญที่สุดของปราสาทนี้ ตั้งอยู่กลางลานกว้าง สร้างด้วยหินทราย
เป็นรูปสี่เหลี่ยมจตุรัส ที่ปราสาทนี้มีหินก้อนหนึ่งที่มีชื่อเสียงก้องโลก นั่นคือ “ ทับหลังนารายณ์บรรทมสินธุ์
” ที่เราช่วยกันเอาคืนมาจากอเมริกา และนำมาติดคืนไว้ที่ปราสาทแห่งนี้
ซึ่งนี่ก็เป็นครั้งแรกเช่นกันที่ดิฉันได้มีโอกาสเห็น “ ทับหลัง”
ของจริง
คณะของเราเดินชมความงามของปราสาทหินอยู่จนแสงอาทิตย์ ลับขอบฟ้า ขากลับเราไม่ต้องเดินลงเขา
เนื่องจากรถสามารถขึ้นมารับเราที่หลังเขาได้ ใกล้ๆที่จอดรถ ทางจังหวัด
ได้สร้างห้องอาบน้ำและห้องสุขาไว้ในช่วงสมัยประชุมคณะรัฐมนตรี คณะทัวร์ของเราจึงได้อานิสงค์นี้ไปด้วย
และหลังจากรวมพล ลงมาพร้อมกันแล้ว รถของเราจึงวิ่งลงเขามาท่ามกลางความมืดของท้องฟ้า
ด้วยความเหนื่อยจากการเดินทางทั้งวัน ช่วงเดินทางกลับเข้าตัวเมือง ดิฉันจึงแอบงีบบนรถสักครู่ เพื่อเก็บแรงไว้ร่วมงานกาล่าดินเน่อร์ในยามค่ำของคืนวันพระจันทร์เต็มดวงที่กำลังจะมาถึง
ด้วยความเหนื่อยจากการเดินทางทั้งวัน ช่วงเดินทางกลับเข้าตัวเมือง ดิฉันจึงแอบงีบบนรถสักครู่ เพื่อเก็บแรงไว้ร่วมงานกาล่าดินเน่อร์ในยามค่ำของคืนวันพระจันทร์เต็มดวงที่กำลังจะมาถึง
(โปรดติดตาม" เที่ยวอิสาน ตอน 2 " ที่นี่เร็วๆนี้ )
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น