บ้านป้าLily หลังนี้เปิดไว้เพื่อให้เป็นที่ที่เพื่อนๆมานั่งตั้งวงคุยกันด้วยเรื่องที่เราชอบ
โดยมีป้า Lily มานั่งเล่าเรื่องที่ดีมีประโยชน์ แถมสนุกสนานให้ฟังอีก
วันที่ท้องฟ้าสดใสในเวลาแดดร่มลมตกไม่มีอะไรดีไปกว่าการมานั่งที่ ชานเรือนของบ้านป้าLily อีกแล้ว


ยินดีต้อนรับทุกท่านจ๊ะ

วันพฤหัสบดีที่ 30 มิถุนายน พ.ศ. 2554

ข้าวก้นบาตร

วัดศรีสุริยวงศารามวรวิหาร


เมื่อสุดสัปดาห์ที่ผ่านมา ได้ไปเยี่ยมหลวงพี่ ซึ่งเป็นรุ่นพี่สมัยเรียนหนังสือ 
หลวงพี่มาบวชที่วัด ที่บ้านเกิดชื่อวัดศรีสุริยวงศารามวรวิหาร 
ครั้งแรกที่ได้ยินชื่อวัดก็ไม่แปลกใจมากนัก  เพราะคุ้นเคยกับนามของ
เจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ มานาน
ยอมรับว่าขณะที่ยังมาไม่ถึงเมืองราชบุรี
นึกวาดภาพวัดนี้เป็นเพียงวัดธรรมดาๆเหมือนวัดทั่วไป
แต่เมื่อ ได้มาเห็นของจริงก็ถึงกับตลึงในความแปลกเหนือความคาดหมายจริงๆ

น่าแปลกใจที่วัดนี้กลับไม่ค่อยมีนักท่องเที่ยวมาเยี่ยมชมมากนัก 
ทั้งๆที่มีความงดงามที่หาชมได้ยากกว่าวัดทั่วไป


จากชื่อวัด เราก็คงทราบกันดีว่า ต้องเกี่ยวข้องกับ
เจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์อย่างแน่นอน 

เนื่องจากท่านเป็นผู้สร้างวัดนี้นั่นเอง  เราจึงควรทราบประวัติโดยย่อของท่านกันก่อน

สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ (ช่วง บุนนาค)( พ.ศ.2351-2425)  ขุนนางชั้นผู้ใหญ่ของไทยในสมัยรัตนโกสินทร์  ผู้มีบทบาทสำคัญในการเมืองการปกครองของไทย โดยเริ่มเข้ารับราชการเป็นมหาดเล็กในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย และได้รับการสถาปนาขึ้นเป็นสมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ซึ่งนับเป็นผู้ที่ดำรงตำแหน่ง "สมเด็จเจ้าพระยา" เป็นคนสุดท้าย นอกจากนี้ ท่านยังมีบทบาทในการอัญเชิญพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ขึ้นครองสิริราชสมบัติและได้รับการแต่งตั้งเป็นผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2411 - พ.ศ. 2416 ด้วย

นอกจากด้านการปกครองแล้ว ท่านยังมีบทบาทสำคัญในด้านวรรณกรรม การละคร และดนตรี รวมถึงเป็นแม่กองในการก่อสร้าง บูรณะ ซ่อมแซม สถานที่ต่าง ๆ มากมาย เช่น พระนครคีรี พระอภิเนาว์นิเวศน์ คลองผดุงกรุงเกษม เป็นต้น
สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์มีชีวิตยืนยาวถึง 5 รัชกาล ตั้งแต่เกิดในปลายรัชกาลที่ 1 และถึงแก่พิราลัยด้วยโรคลมขณะที่กำลังเดินทางกลับจากราชบุรี เมื่อ พ.ศ. 2425 ในสมัยต้นรัชกาลที่ 5 โดยมีอายุยืนยาวถึง 75 ปี
หลังพ้นหน้าที่ผู้สำเร็จราชการแผ่นดิน ท่านก็ชอบออกไปตรวจราชการตามหัวเมืองต่าง ๆ และพำนักอยู่ที่เมืองราชบุรีเป็น ส่วนใหญ่ นับเป็นเวลา 9 ปี ในวันที่ 19 มกราคม พ.ศ. 2425 ท่านถึงแก่พิราลัยด้วยโรคลมขณะที่กำลังเดินทางกลับจากราชบุรี


วัดศรีสุริยวงศ์ ตั้งอยู่ในเขตตำบลหน้าเมือง อำเภอเมือง จังหวัดราชบุรี สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ (ช่วง บุนนาค) สร้างขึ้นด้วยทุนทรัพย์ส่วนตัวในปี พ.ศ.๒๔๑๕ เพื่อเป็นวัดประจำตระกูลบุนนาค เมื่อแล้วเสร็จในปี พ.ศ.๒๔๒๑ ได้ถวายให้เป็นพระอารามหลวง พร้อมกับขอพระราชทานนามวัดและวิสูงคามสีมา พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ ๕) ได้พระราชทานนามว่าวัดพระศรีสุริยวงศารามปัจจุบันนิยมเรียกกันสั้นๆ ว่า วัดศรีสุริยวงศ์” 

วัดศรีสุริยวงศารามวรวิหาร ที่ตั้งเดิมเป็นที่ดินรกร้างใกล้ชุมชนตลาด ซึ่งเป็นที่ดินของสมเด็จเจ้าพระยาบรมหาศรีสุริยวงศ์ (ช่วง บุนนาค) ผู้สำเร็จราชการแผ่นดินและสมุหพระกลาโหมในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้า อยู่หัว (รัชกาลที่ ๕) ท่านมีดำริว่าจะสร้างวัดให้เป็นวัดประจำตระกูลบุนนาค  โดยสร้างวัดนี้ขึ้นด้วยทุนทรัพย์ส่วนตัวของท่านเอง ลงมือก่อสร้าง
เมื่อประมาณปี พ.ศ. ๒๔๑๗ และเมื่อสร้างวัด มีเสนาสนะ พระอุโบสถ พระเจดีย์ เสร็จเรียบร้อยแล้ว ได้กราบบังคมทูลน้อมเกล้า ฯ ถวายวัดให้เป็นพระอารามหลวงและขอพระราชทานนามวัดและที่วิสุงคามสีมา พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดพระราชทานนามวัด 
 ว่า"วัดศรีสุริยวงษาวาส"
สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์เป็นคน หัวก้าวหน้ารวมทั้ง ชอบคบหาสมาคมกับชาวต่างประเทศและรับความเจริญมาจากชาติตะวันตก   วัดศรีสุริยวงศารามวรวิหาร จึงเป็นวัดที่มีสถาปัตยกรรมในรูปแบบที่เป็นเอกลักษณ์ ทรงคุณค่าเป็นมรดกวัฒนธรรมของชาติที่ควรอนุรักษ์ไว้ ด้วยผู้สถาปนาวัดนี้ ในช่วงนั้นเป็นช่วงระยะเวลาที่ไทยเริ่มเผชิญวิกฤตการณ์กับชาติตะวันตก ท่านเจ้าคุณได้ใช้ความปรีชาฉลาดปรับตัวให้เข้ากับเหตุการณ์ เพื่อปกป้องศาสนา



สถาปัตยกรรมที่สำคัญของวัด คือ พระอุโบสถมีลักษณะเป็นสถาปัตยกรรมไทยผสมผสานกับศิลปะตะวันตกแบบกอธิค (Gothic)

หน้าบันปูนปั้นรูปตราสุริยะรองรับด้วยรูปช้างสามเศียรและขนาบข้างด้วยฉัตร เจ็ดชั้น ชายคาปีกนกรองรับด้วยเสากลมแบบคอรินเธียน ระหว่างเสาแต่ละต้นเชื่อมต่อด้วยรูปโค้งครึ่งวงกลมแบบอาร์คโค้ง (arch) หลังคาเป็นกระเบื้องดินเผา ไม่มีช่อฟ้าใบระกา

เดิมพื้นเป็นกระเบื้องโมเสก ปัจจุบันใช้เป็นหินอ่อน  
แต่ยังมีผนังภายในโบสถ์ที่ใช้กระเบื้องแบบเก่าที่งดงามมาก



ผนังโบสถ์เป็นปูนวาดลายแปลกตา   หลวงพี่ เล่าให้ฟังว่า ในสมัยรัชกาลที่ 5 ซึ่งเป็นช่วงที่สร้างวัดนี้ ความที่ผู้สร้างอยากได้พื้นผนังปูด้วยหินอ่อน  แต่ราคาหินอ่อนสมัยนั้นแพงมาก  เพราะต้องซื้อและส่งมาทางเรือจากอิตาลีเท่านั้น

ในเมื่อไม่สามารถซื้อหินอ่อนจากอิตาลีได้ เจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ จึงได้ให้ช่างฉาบผนังด้วยปูน โดยให้เซาะร่องคล้ายกับรอยต่อของแผ่นหินอ่อน  และลงสีวาดลายให้เป็นลายหินอ่อน ที่เห็นในปัจจุบันจึงยังคงเป็นลวดลายเดิมที่ได้รับการรักษาไว้ 



นพระอุโบสถมีพระบรมศาทิศลักษณ์พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และรูปวาดของสมเด็จเจ้าพระยาบรมหาศรีสุริยวงศ์ (ช่วง บุนนาค) เพื่อเป็นเครื่องระลึกถึงผู้ที่มีอุปการคุณต่อวัด



พระประธาน เป็นพระพุทธรูปสัมริด ลงรักปิดทอง พุทธลักษณะ ศิลปะรัตนโกสินทร์ ปางมารวิชัย หน้าตักกว้าง ๑.๑๕ เมตร สูงจากฐานถึงเกศ ๑.๗๕ เมตร



ซุ้มประตูเป็นรูปหน้าจั่วประดับลวดลายนกยูงและพระอาทิตย์ ซุ้มหน้าต่างเป็นรูปหน้าจั่วประดับลวดลายรูปดาวเปล่งรัศมี


เพดานภายในประดับลวดลายปูนปั้นทาสีแบบลายเทศ เป็นลวดลายแบบฝรั่งที่งดงาม 
คงต้องบอกเลยว่า จุดนี้เป็นจุดที่ประทับใจที่สุดสำหรับฉัน 



บางคนอาจสงสัยว่าแท่งนี้คืออะไร ฉันเองก็เพิ่งเข้าใจ 
เมื่อช่วยกันปิดประตู และหน้าต่างโบสถ์ แท่งนี้คือสลัก หรือกลอนประตูแบบโบราณนั่นเอง



เสมารอบตัวโบสถ์ เป็นแบบที่ต่างจากวัดทั่วๆไป  ดูเรียบง่ายดี ไม่วิจิตรเหมือนวัดอื่น



สิ่งก่อสร้างที่สำคัญอีกอย่างหนึ่งคือ ซุ้มประตูวัด ลักษณะเป็นซุ้มประตูทรงโค้งตกแต่งด้วยลวดลายปูนปั้นและเสากลมด้านละ ๓ เสา ซุ้มประตูนี้ สร้างขึ้นโดยท่านเจ้าคุณ พระศรีธรรมานุศาสน์ (สุมิตฺตเถร) แทนซุ้มประตูทที่รื้อถอนไปเพื่อขยายอาณาเขตวัดให้กว้างขวาง โดยใช้สถาปัตยกรรมแบบเดียวกับพระอุโบสถ








ตรงกลางซุ้มมีอักษรระบุชื่อ วัดศรีสุริยวงศ์ มีลวดลายปูนปั้นประดับตกแต่งอย่างสวยงาม ประตูนี้สร้างแทนของเดิมที่หักพังไปเมื่อปี พ.ศ.๒๔๙๓ กรมศิลปากรประกาศขึ้นทะเบียนวัดศรีสุริยวงศ์ เป็นโบราณสถานของชาติ เมื่อวันที่ ๑๐ กันยายน ๒๕๔๔


ด้านบนมีประติมากรรมลอยตัวรูปเทวดาเด็กมีปีก



หอระฆัง ก็มีอิทธิพลของสถาปัตย์กรรมฝรั่ง



บรรไดแคบๆสำหรับพระขึ้นไปตีระฆัง


ด้านล่างของหอระฆัง เป็นหอกลอง  ขณะถ่ายรูปก็ต้องตกใจ
เพราะ พระท่านลั่นกลองเวลาเพลนั่นเอง



อาหารที่เรานำไปถวายหลวงพี่ เป็นอาหารง่ายๆ ( ที่เราชอบ )คือผัดผักรวมกับกุ้ง

แต่ก็ต้องหาอาหารที่พระชอบด้วยเช่นกัน เพราะมีพระมาร่วมวงฉันท์เพลด้วยหลายองค์
จานที่สองจึงเป็นปลาดุกผัดฉ่า

นี่ก็อีก 1 ปลา คือ ผัดพริกขิงปลาดุกกรอบ


 จานพิเศษของวันนี้ นี่คือ ปลาช่อนทอดกรอบ กับผัดมะเขือยาว 
พระท่านคงฉันท์แบบงงๆ แต่ก็เกือบหมด



พระท่านคงเบื่อกับอาหารจานนี้ แต่ฉันชอบมาก  นี่คือไข่เจียวหมูสับ ที่อร่อยมากๆ
ที่จริงยังมีน้ำพริกลงเรือ แต่ไม่ได้ถ่ายรูปไว้ 


ของหวานเป็นผลไม้ เชอรรี่หวานกรอบอร่อยมาก

ทันทีที่เห็น โดนัท ( ยี่ห้อแถวยาว) กล่องนี้  หลวงพี่หันมามองอย่างรู้ทันว่า
ที่เราซื้อมาก็เพราะอยากกินเองมากกว่า

หลังจากฉันท์เสร็จ พระท่านก็ให้ศีลให้พร 
เราก็กรวดน้ำทำบุญอุทิศส่วนกุศลไปให้ผู้ที่เกี่ยวข้องตามประเพณี

หลวงพี่คงรู้ว่าเราหิว  เลยเรียกให้กินข้าว
เราก็ไม่รอช้า รีบล้อมวงกินข้าวก้นบาตร ของหลวงพี่ด้วยความอร่อย

แต่..ก็ต้องทำใจให้เข้มแข็งนิดหน่อย ตรงที่โดนัท ที่นำมาถวาย ไม่เหลือแล้ว 
เพราะเณรสององค์ ที่ร่วมวงฉันท์กับหลวงพี่ ชอบเป็นพิเศษเหมือนเรา

เอาน่า ...มาทำบุญนะโย๊มมมมม


ข้อมูลเรื่อวัด บางส่วนนำมา
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี 
หากต้องการทราบ โปรดอ่านเพื่อเติมได้  




วันอาทิตย์ที่ 5 มิถุนายน พ.ศ. 2554

Chez Nous

 
Chez Nous - บ้านเรา 

 สุดสัปดาห์ที่ผ่านมา ได้มีโอกาสเดินทางไป 
ตำบลหาดเจ้าสำราญ อำเภอเมือง จังหวัดเพชรบุรี 
ยอมรับว่า แม้จะเป็นคนเมืองเพชรฯ  
แต่หาดเจ้าสำราญ ก็เป็นที่ที่ไม่ค่อยอยู่ในความคิดเท่าใดนัก

สาเหตุที่ทำให้อยากไปดูก็เพราะเพื่อนรุ่นน้องที่สนิทกันมาก
มาซื้อโรงแรมเล็กๆที่นี่ไว้ และขอให้มาดูว่าสวยงามแค่ไหน 
เราก็เลยถือโอกาสมาเมืองนี้ เพื่อดูว่า 
" หาดเจ้าสำราญ หมุนตามโลก ไปไกลแค่ไหนแล้ว"

หากเป็นคนจังหวัดอื่น เมื่อได้ยินชื่อเมืองนี้ คงชื่นชมและนึกวาดภาพเมืองไปต่างๆนานา
แต่สำหรับคนเมืองเพชร  ก็จะคุ้นและเข้าใจดีว่า ชื่อ " หาดเจ้าสำราญ" นี้มาจากไหน
และคงไม่ต้องแปล ทุกท่านก็เข้าใจดีอยู่แล้ว เพราะคำว่า " หาดเจ้าสำราญ"
หมายถึงสถานที่ที่พระเจ้าอยู่หัว ทรงโปรดและเสด็จมาประทับแปรพระราชฐานที่นี่ 
ซึ่งนั่นก็หมายถึงในยุคของพระบามสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 5 นั่นเอง

ในสมัยก่อน สถานที่ตากอากาศที่ใกล้กรุงเทพฯ ยังมีไม่มากเท่าทุกวันนี้ ดังนั้นเมืองชายทะเล
ซึ่งเป็นเพียงหมู่บ้านชาวประมงค์เล็กๆเมืองนี้จึงกลายเป็นที่ที่พระเจ้าอยู่หัวเสด็จมา
ในช่วงที่ประทับอยู่ที่จังหวัดเพชรบุรี

ปัจจุบัน ตำบลหาดเจ้าสำราญ ก็ยังคงสภาพแวดล้อมที่เป็นหมู่บ้านชาวประมงค์เล็กๆไว้ 
ซึ่งนับว่าเป็นเรื่องที่ดี เพราะทุกวันนี้เราแทบจะหาสถานที่ท่องเที่ยวที่สวยงามแบบเดิมๆไม่ได้แล้ว



เดี๋ยวนี้ไม่ว่าจะไปเมืองไหน  ก็มีแต่สถานที่ท่องเที่ยวจอมปลอมที่สร้างขึ้นมา
เพื่อให้นักท่องเที่ยวไปเสียตังค์ดู 
การมาเมืองหาดเจ้าสำราญ วันนี้จึงนับว่าได้มาค้นพบของจริงที่ไม่เสริมแต่ง
แม้จะดูว่าไม่ทันสมัยอลังการณ์งานสร้าง  แต่ก็ดูสงบและสบายใจอย่างมาก  
อยากให้ชาวบ้านที่นี่รักษาความสงบแบบนี้ไว้ต่อไปนานๆ 
อย่าตามกระแสจอมปลอมของเมืองท่องเที่ยวอื่นเลย

นอกจากร้านค้าริมหาดที่ขายของทะเลแห้ง 2-3ร้านแล้ว
เมื่อขับรถขึ้นไปทางหมู่บ้านชาวประมงค์
จะพบกับบ้านพักและแพที่ชาวบ้านนำอาหารทะเลที่จับได้ขึ้นจากเรือ 
ที่นี่เราสามารถไปขอซื้อได้เลย


วันนั้นแม้จะสายสักหน่อย เราก็ยังพบกับปูม้าตัวโตๆ เป็นๆ
ที่ชาวประมงค์กำลังคัดเลือกเพื่อส่งไปขาย
หากจะทานปู ต้องไปที่ท่าประมงค์ เช้าๆหน่อยนะจ๊ะ

 ไม่ไกลจากหมู่บ้านประมงค์เท่าใดนัก  เราก็พบกับสถานพักฟื้นของกองทัพบก
วันนั้นเรารีบขอเข้าไปดู  เดิมที่นี่เป็นโรงแรมของทหาร
ที่เราเคยมาเที่ยวเมื่อ 50ปีที่แล้ว
ปัจจุบัน เขาปรับปรุง และทาสีใหม่สวยงามมาก 
โรงแรมนี้น่าจะเป็นโรงแรมตากอากาศแห่งแรกๆของเมืองไทย
จำได้ว่า เมื่อตอนเป็นเด็ก เคยมาถ่ายรูปที่พญานาค 2 ตัวนี้
น่าดีใจที่ยังคงอยู่ในสภาพดี เช่นเดิม

แม้หาดทรายของ ตำบลหาดเจ้าสำราญจะ เงียบเหงาว้าเหว่  
แต่ก็ยังมีความสวยงามและสงบไว้ต้อนรับทุกท่าน

ขณะยืนอยู่ในสถานพักฟื้นของกองทัพบก ก็มองเห็นหลังคาของโรงแรมที่เพื่อนบอกไว้
แค่เดินออกจากที่นี่ก็ถึง โรงแรมเล็กๆที่ชื่อ Chez Nous แล้ว

Chez Nous เป็นภาษาฝรั่งเศส แปลว่าบ้านของเรา  
แค่ชื่อก็บอกคอนเซ็บของโรงแรมแล้วว่า
ที่นี่ให้บริการด้วยความอบอุ่นเหมือนอยู่บ้านของเราเอง

เมื่อเดินมาถึงโรงแรม มองเข้าไปผ่านซุ้มทางเข้า
แม้อากาศข้างนอกจะร้อนด้วยแสงแดด 
แต่ดูเหมือนว่าอุณหภูมิภายในบริเวณโรงแรมจะร่มเย็นลงทันที
บรรยากาศอย่างนี้  น่าจะเป็น Secret Garden ที่รอให้เรามาแอบซ่อนตัวดีจัง


บอกกับตัวเองว่า เราเจอที่ซ่อนแห่งใหม่แล้ว  
ที่นี่ช่างสงบเงียบ ร่มรื่นเหมาะที่จะหลบมาพักผ่อนเสียจริง



ที่นี่มีบ้านพัก ไม่กี่หลัง ( ประมาณ 16 หลัง) แต่ละหลังแยกจากกัน 
จึงมีความเป็นส่วนตัวสูง ไม่ต้องฟังเสียงกรนของห้องอื่นให้รำคาญใจ


หน้าบ้านมีโต๊ะกาแฟเล็กๆ ไว้ให้นั่งจิบกาแฟยามเช้าอันเงียบสงบ


ริมหาดมีศาลาเอนกประสงค์ให้ผู้มาพัก มาทำกิจกรรมและพักผ่อนได้





สระว่ายน้ำ พร้อมจาคูชี่ ตั้งอยู่ริมหาดทราย เล่นน้ำในสระก็มองวิวชายทะเลไปด้วยเลย


บรรยากาศร่มรื่น ไปทุกหนแห่ง


หน้าบ้านมีเก้าอี้สำหรับนั่งชมวิว แบบชิลๆ

ปลาดาวยิ้มต้อนรับ หากท่านใดไปที่นี่  โปรดหาปลาดาวตัวนี้ให้เจอด้วยนะ

ทุกบ้านจะมีโอ่งเล็กๆใส่น้ำไว้ให้ล้างเท้าก่อนเข้าบ้าน ได้อารมณ์บ้านๆดีจัง


ชอบใจทางเข้าบ้านหลังนี้ ที่ดำรงค์คอนเซ็บ Secret Garden ไว้ได้อย่างยอดเยี่ยม



มองจากห้องนอนออกไปนอกบ้าน

ภายในห้องนอน


เครื่องใช้ภายในห้อง ให้บรรยากาศแบบ Country ดี

ห้องนั่งเล่นของห้องพักขนาดใหญ่


ห้องนอนของห้องพักขนาดใหญ่


ที่โรงแรมนี้ ไม่มีอาหารขาย เนื่องจากผู้พักส่วนใหญ่มักจะออกไปเที่ยวในช่วงกลางวัน
มีเพียงอาหารเช้าไว้บริการผู้พักทุกห้อง ที่ริมสระน้ำใกล้ชายหาด  บรรยากาศเริ่ดมาก





อาหารเช้าแบบอลังการณ์


วันนี้เราไม่ได้นั่งทานอาหารเช้านานนัก เพราะอยากอยู่คนเดียว 
เลยแอบมานั่งจิบกาแฟที่หน้าห้อง

ซึ่งก็เย็นด้วยลมทะเล และร่มเงาของต้นไม้ แถมยังมองเห็นทะเลอีกด้วย เช้านี้สุขใจจัง


ก่อนกลับ แวะไปทักทายเจ้าของโรงแรม 
และขอบคุณที่พามาพบกับสถานที่ที่อยากจะเก็บไว้ในใจคนเดียว
รับรองว่า ต้องแอบไปอีกบ่อยๆ แน่นอน