บ้านป้าLily หลังนี้เปิดไว้เพื่อให้เป็นที่ที่เพื่อนๆมานั่งตั้งวงคุยกันด้วยเรื่องที่เราชอบ
โดยมีป้า Lily มานั่งเล่าเรื่องที่ดีมีประโยชน์ แถมสนุกสนานให้ฟังอีก
วันที่ท้องฟ้าสดใสในเวลาแดดร่มลมตกไม่มีอะไรดีไปกว่าการมานั่งที่ ชานเรือนของบ้านป้าLily อีกแล้ว


ยินดีต้อนรับทุกท่านจ๊ะ

วันเสาร์ที่ 15 กรกฎาคม พ.ศ. 2560

Haikou , Hainan China. เที่ยวไหหนาน




Haikou , Hainan China.

In 1858, due to the signing of the Tianjin Treaty, Haikou opened its doors and became a commercial port. 
Later, the Haikou Custom was set up
Many countries like the U.K., France and Germany established consulates in Haikou, which gradually grew into a booming modern city and a commercial hub trading with South East Asia.

 At that time, its well-developed sea transportation network connected Haikou to Bangkok, Kuala Lumpur, Singapore, Saigon, Haiphong, Hong Kong, Xiamen, Taiwan, Guangzhou, Beihai and more. 

Travelling back and forth between Hainan and South East Asia or the coastal area of the mainland, Hainan businessmen brought architectural elements from different places back to Haikou, giving the city a Euro-Asian look.

The building was called "Qilou" means 5 stories building. Qilou buildings now can principally be found on Zhongshan Road, South Xinhua Road, East Jiefang Road, Bo Ai Road and Deshengsha. 

In total, there are more than 200 Qilou buildings in Haikou. Historically, the street has housed consulates, churches, post offices, banks and chambers of commerce belonging to 13 different countries. Today, it remains Haikou’s business center whilst giving you a taste of the traditional life of Haikou. 
Salesmen in the shops, passers-by taking shelter from the rain, vendors having a short break, yelling hucksters.

มณฑลไห่หนาน



     เมื่อพูดถึงเกาะไหหลำ หรือ มณฑลไห่หนาน ของประเทศจีน  น้อยคนที่จะรู้จัก ถ้าไม่ใช่ลูกหลานไหหลำคงไม่รู้เลยว่าเกาะนี้อยู่ส่วนไหนของประเทศจีน

 แต่ปัจจุบัน 'ไห่หนาน' ได้ถูกเปิดตัวสู่โลกกว้าง ด้วยความมีชื่อเสียงของการเป็นเกาะหาดสวย ฟ้าคราม ทะเลใส
ต้องชื่นชมประเทศจีนที่ได้พยายามผลักดันให้เกาะนี้  เป็นที่รู้จักของโลก ด้วยโครงการพัฒนาการท่องเที่ยวตากอากาศให้อยู่ในระดับมาตรฐานนานาชาติ  มีความโดดเด่นเทียบเคียงได้กับเมืองตากอากาศชั้นแนวหน้าของประเทศเพื่อนบ้านอย่าง ไทย และบาหลี  และให้ชื่อว่าเป็น 'ฮาวายของจีน'
     
       
ก่อนหน้านี้ ข้อมูลประวัติศาสตร์รับรู้เพียงว่า 'เกาะไห่หนาน' เป็นเพียงเกาะเนรเทศ เปลี่ยวร้าง ห่างไกลความเจริญ โดยในประวัติศาสตร์ยังเป็นที่รู้จักว่าคือแดนเนรเทศของบุคคลสำคัญอย่าง 'ซูตงปอ' ปราชญ์และกวีเอกจีนในยุคราชวงศ์ซ่ง จนกระทั่ง เมื่อ 30 ปีมานี้เอง ที่จีนได้เปิดประตูสู่ไห่หนาน ในสถานะแหล่งท่องเที่ยวระดับโลก ที่มุ่งผลสำเร็จภายในปี พ.ศ. 2563 อันนำความเจริญก้าวหน้าชนิดก้าวกระโดดมาสู่เกาะแห่งนี้

       


เมืองไหโขว่ มลฑลไห่หนาน(ไหหลำ)

ไหโข่ว(Haikou) เป็นเมืองเอกของ มณฑลไหหลำ หรือ ไห่หนาน (hainan) นอกจากมีชายหาดสำหรับอาบแดดที่มีชื่อเสียงโด่งดัง ต้นมะพร้าวที่เรียงรายเป็นแถวแนวตามชายฝั่งแล้ว ยังมีถนนสายเก่าแก่อายุนับร้อยปีที่มีเอกลักษณ์ทางประวัติศาสตร์และวัฒนธรรม
เมื่อ ท่านมาถึงเมืองไห่โข่วแล้ว เดินไปตามถนนฉางตี  เลี้ยวเข้าไปถนนสายตรงที่ปูด้วยแผ่นหินแห่งหนึ่ง จะมองเห็นว่า สองข้างทางเป็น ฉีโหลวซึ่งเป็นกลุ่มอาคารพาณิชย์ที่ทำเป็นถนนคนเดินเชื่อมต่ออยู่ใต้ชายคาเดียวกัน ถนนสายนี้ก็คือถนนเต๋อเซิ่งซา ซึ่งเป็นถนนสายเก่าแก่นับร้อยปี
  สะท้อนให้เห็นสภาพการเปลี่ยนแปลงของเมืองไหโข่ว สมัยนั้น อู่ฉีโหลว หรือ ตึก 5 ชั้น ถือได้ว่า เป็นสถานที่ที่มีชื่อเสียงที่สุดของเมืองไหโข่ว พ่อค้ารายใหญ่มักจะนัดคู่ค้ามาคุยเรื่องการค้าขาย หรือคบค้าสมาคมกับเพื่อนใหม่ๆ ที่อาคารแห่งนี้ เพราะในยุคสมัยนั้น ไม่ว่าการมาพัก มาดื่มเหล้าหรือดื่มกาแฟที่อาคารแห่งนี้เป็นสัญลักษณ์ทางสังคมที่แสดงว่า "มีฐานะสูงส่ง
ในปลายสมัยราชวงศ์เชง เริ่มมีกระแสนิยมเดินทางไปทำมาหากินที่ภูมิภาคเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ หลังจากสะสมเงินก้อนหนึ่งได้แล้ว พวกเขาก็กลับมาสร้างบ้านใหม่ที่บ้านเกิดเมืองนอน เมืองไหโข่วจึงปรากฏสถาปัตยกรรมแบบเอเชียตะวันออกจำนวนมาก โดยเฉพาะ ในบริเวณเต๋อเซิ่งซา เพราะมีทำเลที่ดี ไปไหนมาไหนสะดวกสบาย  เพราะอยู่ติดกับท่าเรือเดินสมุทร ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นของการอพยพมายังประเทศไทย




 เรามาที่ถนนเต๋อเซิ่งซา เพื่อมาระลึกถึงว่าครั้งหนึ่ง เมื่อร้อยปีที่แล้ว ย่าของเราเคยอุ้มลูกมานอนที่ใต้ชายคาตึกเหล่านี้  เพื่อรอขึ้นเรือสำเภากลับมาเมืองไทย

























 ตามถนนจะมีรูปหล่อทองเหลือง แสดงสภาพความเป็นอยู่ชองคนไหหลำในสมัยนั้น รูปนี้เป็นการติดต่อค้าขายกับต่างชาติ 









 รูปหล่อหญิงชาวไหหลำ สะพายลูกเล็กๆ และจูงลูกคนโต เป็นสภาพที่เห็นได้ทั่วไปในยุคอพยพ  ย่าของฉัน ก็มีสภาพเหมือนหญิงคนนี้










 ลักษณะเด่นเฉพาะตัวของคนไหหลำ คือการนั่งแบบยกขา คนไทยอาจดูว่าไม่สุภาพ แต่คนไหหลำถือว่าเป็นท่านั่งที่สบาย



 ตึกสีแดง เป็นตึกที่ทำการตรวจคนเข้าเมือง และศุลกากร ในสมัยโบราณ บริเวณนี้เป็นท่าเรือเดินสมุทรที่จะเดินทางไปต่างประเทศ  รวมทั้งประเทศไทย 





แววตาของหญิงชาวไหหลำ ที่ยืนมองออกไปในทะเล มีความเศร้า ความหวัง และการรอคอย......

อาหารที่ไหโขว่

มาไห่หนาน ก็ต้องกินไก่เท่านั้น จะเป็นอื่นไปมิได้  ไก่ของคนไห่หนาน เป็นไก่พันธุ์พิเศษ อร่อยไม่เหมือนใคร เนื้อไม่นุ่มนิ่มเหมือนข้าวมันไก่สิงคโปร์  และบ้านเรา  ร้านข้าวมันไก่ในเมืองไทยที่ขึ้นป้ายว่า " ข้าวมันไก่ไหหลำ" กี่ร้านๆ กินไม่เป็นไหหลำสักร้าน

ที่นี่ข้าวที่หุงก็หอมมาก  ฉันพยายามทำให้เหมือนแล้ว แต่ก็ยังห่างไกล อาจเป็นเพราะไก่ที่นำมาต้มนั้น เป็นไก่สดมันมากก็ได้  ความที่นานๆได้กินของแท้  วันที่เราไปจึงกินไก่ไป 6 ตัว อิ่มไปนานเลย





ข้าวที่นี่ มีสองแบบ แบบที่หุงด้วยน้ำต้มไก่ กับ ที่หุงด้วยกะทิ
ตัดสินไม่ได้ว่า อันไหนอร่อยกว่ากัน



 ก้านเผือกผัดกะปิ คนไหหลำเท่านั้นที่จะรู้จัก อาหารที่ฉันกินตั้งแต่เด็ก




 ก๋วยเตี๋ยวไหหลำ เป็นอาหารอีกฃนิดที่ต้องกิน ยามมาที่นี่


                      ผักกาดดองใส่ในก๋วยเตี๋ยว


                                อร่อยชื่นใจ


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น