บ้านป้าLily หลังนี้เปิดไว้เพื่อให้เป็นที่ที่เพื่อนๆมานั่งตั้งวงคุยกันด้วยเรื่องที่เราชอบ
โดยมีป้า Lily มานั่งเล่าเรื่องที่ดีมีประโยชน์ แถมสนุกสนานให้ฟังอีก
วันที่ท้องฟ้าสดใสในเวลาแดดร่มลมตกไม่มีอะไรดีไปกว่าการมานั่งที่ ชานเรือนของบ้านป้าLily อีกแล้ว


ยินดีต้อนรับทุกท่านจ๊ะ

วันเสาร์ที่ 20 มีนาคม พ.ศ. 2553

บัวสวรรค์

หลายปีมาแล้วที่ปลูกต้นไม้ไว้ต้นหนึ่งแถวหน้าบ้าน ป้าเดินผ่านต้นไม้ต้นนี้ปีแล้วปีเล่า ดูเหมือนว่าเขาไม่มีความเปลี่ยนแปลงอะไรให้เห็นเลย ครั้งหนึ่งเคยถามคนปลูกว่า เอาต้นอะไรมาปลูกแถวนี้ เขาบอกชื่อว่าเป็นต้น “ บัวสวรรค์” เวลาผ่านไปนานมากจนกลายเป็นความเคยชิน และ ลืมไปว่ามีต้นไม้ต้นนี้อยู่ข้างทาง แต่แล้ววันดีคืนดี ดอกไม้สีชมพูอ่อนสวยงามดอกหนึ่งก็ส่งแสงความงามของเขาออกมานอกต้น กระทบกับสายตาป้า จนต้องเดินเข้าไปดูใกล้ๆ และวินาทีนั้นเองที่ทำให้ป้าสังเกตเห็นว่า เจ้าต้นไม้ที่เรามองข้ามไปปีแล้วปีเล่าต้นนี้เขาโตขึ้นมามาก จากต้นที่สูงแค่ฟุตเดียว กลายมาเป็นสูงท่วมหัวเราแล้ว และขณะนี้เขากำลังมีดอกมากมายแอบซ่อนอยู่ภายหลังใบเขียวเข้มของต้น การออกดอกของเขาทำให้บ้านของเราตื่นเต้นกันทั้งวัน รวมทั้งลุงนัน ผู้เป็นคนปลูกก็แอบเดินมาดูด้วยความภูมิใจเช่นกัน เมื่อนับเวลาตั้งแต่นำมาลงดิน จนมีดอกออกมา สิริรวมเวลาแล้ว 5 ปีเต็ม

เจ้า “บัวสวรรค์ ”นี้ มีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า : Gustavia gracillima Miers แต่เมื่อค้นหาข้อมูลจากเวบไซต์ต่างประเทศ เห็นดอกลักษณะเหมือนกัน แต่มีชื่อต่างไป เช่น Gustavia superba Kunth) O. Berg และ อื่นๆ เรื่องชื่อนี้ยังหาคำตอบที่สรุปไม่ได้ แม้แต่ในเวบไซต์ของราชการก็ยังไม่มีการยืนยัน จึงขอใช้ชื่อข้างต้นซึ่งเป็นชื่อที่ทุกเวบไซต์ในเมืองไทยใช้กันไปก่อน



ชื่อสามัญของไทยก็คือ บัวสวรรค์ บางคนเรียก บัวดิน หรือ บัวฝรั่ง ส่วนภาษา อังกฤษ เรียกว่า Gustavia หรือ Gutzlaffia หรือบางชนิดที่คล้ายกันมากก็เรียกว่า membrillo , Zephyranthus, Pure Glassy White , Paco, Pacora, Choco, Sachamango, และ Heaven Lotus
เรื่องชื่อนี้ ทุกถิ่นที่ปลูกมักตั้งชื่อจากลักษณะของดอกที่สวยงามเหมือนดอกบัว โดยรวมเอาลักษณะความงามของดอกไม้ที่พบในเขตป่าฝนในดินแดนอันอบอุ่น ซึ่งสามารถสร้างความเบิกบานใจให้แก่ผู้พบเห็นนี้ต่างกันออกไป เช่นคนในแถบทวีปอเมริกากลางเรียกไม้ดอกนี้ว่า Membrillo แต่ในยุโรป จะเรียกไม่เหมือนกัน โดยจะเรียกว่า Gustavia trees แต่ชนเผ่าอินเดียนแดงในแถบทวีปอเมริกาใต้ จะเรียกว่า Tupu หรือ Tuba.
ทุกชื่อมีชื่อ วงศ์เดียวกันคือ : LECYTHIDACEAE
ต้นไม้นี้มีถิ่นกำเนิดมาจาก ตะวันออกกลาง แอฟริกาตะวันออก โคลัมเบีย Costa Rica, Panama ดูแล้วทุกประเทศที่กล่าวมา เป็นประเทศในเขตร้อนชื้น ใกล้เส้นศูนย์สูตร ดังนั้นการนำมาปลูกในบ้านเราจึงเป็นเรื่องไม่ยาก และสามารถเจริญเติบโตได้ดี โดยสามารถออกดอกได้เหมือนกับต้นที่ปลูกในถิ่นกำเนิด

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์

เป็นไม้พุ่มหรือไม้ต้นขนาดกลาง สูง 3-6 ม. บางประเทศสามารถสูงได้ถึง 15 เมตร ลำต้นตรง เปลือกต้นสีน้ำตาลเข้ม รอบลำต้นกว้างประมาณ 30 เซนติเมตร หรือ 1 ฟุต แต่ลำต้นอาจจะใหญ่กว่านี้ได้ ขึ้นอยู่กับสภาพภูมิอากาศ และท้องถิ่นที่ปลูก
กิ่งเป็นกิ่งใหญ่ ที่แตกออกจากลำต้นมีไม่มาก ลักษณะกิ่งที่แตกออกจะยาวและตั้งขึ้นไปทางยอดของต้น คล้ายต้นมะพร้าว ที่มีใบเป็นกลุ่มอยู่ที่ปลายกิ่งเป็นส่วนใหญ่

ใบใบเดี่ยวออกสลับ รูปใบหอกกว้าง 10-14 ซม. ยาว 30-45 ซม. ปลายเรียวแหลมคล้ายหอกรูปขอบขนาน โคนสอบเป็นครีบ ขอบหยักไม่สม่ำเสมอ บางต้นขอบใบเป็นจักฟันเลื่อยถี่ แผ่นใบหนาคล้ายแผ่นหนัง ฐานใบสอบ เส้นใบแตกแขนงเด่นชัด ใบดกเต็มต้น เวียนเรียงสลับเป็นกระจุกที่ปลายกิ่ง ใบเป็นมัน ไม่ผลัดใบ

ดอกออกเดี่ยวตามซอกใบใกล้ปลายกิ่ง หรือบนลำต้น เมื่อบานขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 7- 10 ซม. กลีบดอกสีชมพู หรือสีชมพูอมม่วง จำนวน 8 กลีบ กลีบดอกหนา รูปใบหอกกลับถึงรูปไข่ซ้อนเหลื่อมกัน ดอกคล้ายดอกบัวหลวงแต่ใหญ่และสวยกว่า เกสรเพศผู้มีเป็นจำนวนมาก เชื่อมติดกันเป็นวง อับเรณูสีเหลืองมีขนาด 0.2 ซม.
น้ำหวานจากดอกมีความหวานมาก มีกลิ่นหอมช่วงกลางวัน ดอกบานและร่วงภายใน 1 - 2 วันเท่านั้น ชอบออกดอกที่บริเวณภายในทรงพุ่ม ถ้าไม่สังเกตให้ดีก็จะไม่พบดอกที่กำลังบาน โดยส่วนใหญ่จะรู้ว่าต้นออกดอกก็เมื่อเห็นกลีบดอกที่ร่วงลงบนพื้นแล้ว เมื่อกลีบดอกและเกสรร่วงจะเหลือแต่ด้านในที่เป็นฝักสีเขียว ในเมืองไทยมีผู้รายงานว่าออกดอกในช่วงเดือน มิถุนายน ถึง ตุลาคม แต่ในต่างประเทศ บอกว่า ออกดอกในช่วง เดือน มีนาคม ถึง ตุลาคม แต่บางท่านในเมืองไทยแจ้งว่าออกดอกตลอดปี แต่ที่สวนลูกจันทร์ ออกดอกในช่วง กันยายน
ผลรูปเหมือนลูกข่าง เส้นผ่าศูนย์กลาง 3.5-4.5 วม. 3-4.5 ซม. ก้านผลยาวผลทรงครึ่งวงกลม ปลายตัด เส้นผ่าศูนย์กลาง 5.5 ซม. สูง 4.5 ซม. ที่ปากตัด มีขอบหนา 0.2 ซม. เมื่อติดผลจะมีสีเขียว และ เปลี่ยนเป็นสีเหลือง และน้ำตาล ก่อนจะหลุดร่วงไป ภายในมีหลายเมล็ด เมล็ดเกือบกลม ยาว 3-4 ซม.ประมาณ 20 เมล็ด ติดอยู่ด้านหนึ่งของผนังด้านในผล
เมื่อผลแก่จะตกลงบนพื้น และคงสภาพเดิมอยู่เป็นสัปดาห์ ก่อนจะขึ้นรา หรือเน่าเสีย ผลสดที่อยู่บนต้นจะเป็นอาหารที่ชื่นชอบของสัตว์จำพวกค้างคาว ผลสุกที่ตกลงบนพื้น เป็นอาหารที่พวกสัตว์ป่าตัวเล็ก จำพวกลิง กวาง กระจง หรือ กระรอก ชอบกินมาก แม้แต่มนุษย์ ก็ยังรับประทานเช่นพวกอินเดียนแดง รับประทานทั้งผลสด และ นำไปคั่ว หรือ ต้ม บางพวกผสมกับข้าวรับประทาน ผลของบัวสวรรค์ มีไวตามินเอ บี ซี และ ฟอสเฟอรัส มาก

การดูแลเป็นพันธุ์ไม้หอมที่ดูแลง่าย ทนต่อสภาพแวดล้อม ชอบแสงแดดจัดและน้ำปานกลางถึงมาก ใบไม่ค่อยร่วง ชอบแดดรำไรถึงแดดจัด มั่นรดน้ำพรวนดินบ้าง

การขยายพันธุ์การเพาะเมล็ด ตามธรรมชาติ เมล็ดของบัวสวรรค์มีขนาดใหญ่ และ หนัก จึงไม่สามารถกระจายออกไปไกลจากโคนต้นได้มากนัก เมื่อผลเน่าเสียเมล็ดจะถูกฝังลงดินและงอกเป็นต้นอ่อนขึ้นมา ต้นจากการเพาะเมล็ด จะใช้เวลาในการออกดอกถึงห้าปี ช้ากว่าต้นจากการปักชำ หรือตอนกิ่ง ( ต้นที่สวนลูกจันทร์ ใช้เวลาปลูกถึงออกดอกประมาร 5 ปี)
การตอนกิ่ง เปอร์เซ็นต์การออกรากค่อนข้างต่ำ ประมาณ30 % แต่ถ้าสำเร็จจะออกดอกเร็วกว่าการเพาะเมล็ด

ประโยชน์ใช้เป็นไม้ประดับ ใบเขียวตลอดปีช่วยให้บ้านดูร่มรื่นเย็นสบาย เยื่อไม้ใช้ทำด้าย น้ำจากก้านดอกอ่อนหมักแล้วกลั่นรับประทาน บำรุงโลหิต และบำรุงธาตุ ลำต้นที่ตรงของเขาใช้ได้ดีสำหนับการก่อสร้าง ในสมัยโบราณ ชาวอินเดียนแดงใช้ใบต้มทำยาแก้พิษจากการถูกธนูพิษยิง และแก้พิษไข้ แก้หวัด ที่มีประโยชน์ที่สุดคือ ดอกสวย หอมชื่นใจ

ในที่สุดต้นไม้ที่เคยถูกมองข้ามมานานนับปี ก็กลับกลายเป็นเพชรในตมขึ้นมาชั่วข้ามคืน เมื่อถูกค้นพบว่าเขาให้ดอกที่งามยิ่งนัก สำหรับชื่อ “ บัวสวรรค์ ” ก็เหมาะสมแล้ว เพราะเมื่อนำไปวางไว้ในอ่างบัว เขาก็งามได้เทียบเคียงกับดอกบัวชนิดที่เฉือนกันไม่ลงทีเดียว รู้สึกไม่เสียใจเลยที่ปลูกไว้ใกล้บ้านเช่นนี้ เพราะชื่อบัวสวรรค์ สามารถสร้างบ้านให้เป็นสวรรค์ได้โดยแท้

เพลิงภาณุ


ตลอดช่วงเดือนมีนาคม 2551 ป้าLily ต้องเดินสายสอนหนังสือ ตามโครงการพิเศษของงานที่ทำ จึงไม่ได้กลับมาที่ “สวนลูกจันทร์” ทุกสัปดาห์ จนถึงต้นเดือนเมษายน ที่ป้าก็ต้องตกใจเมื่อได้รับโทรศัพท์จากลุงนัน ตอนแรกคิดว่าลุงไม่สบาย แต่ที่แท้ลุงฯก็แค่โทรฯมาบอกว่า “ เพลิงภาณุ” ออก ดอกแล้ว

สำหรับลุงนัน “ เพลิงภาณุ” เป็นต้นไม้ที่รอคอย และอยากเห็นดอกของเขามาก ลุงรดน้ำไปก็พร่ำบ่นกับเขาทุกวันว่า “ เมื่อไรจะเห็นดอกของเจ้าสักทีนะ ”

เหตุที่ต้องบ่น และกังวลใจก็เพราะ โดยทั่วไปแล้ว ไม้ประดับจะออกดอกเมื่อมีอายุ 3-4 ปี และไม่เกิน 5 ปี แต่ แม่เพลิงภาณุ ของเราก็เล่นตัวมากไม่ยอมออกดอกมาให้ชมเสียที เล่นเอาคนปลูกกลุ้มใจ อย่างมาก

และแล้วในวันที่อากาศร้อนจนฟ้าแทบละลาย แม่พระเพลิง “ เพลิงภาณุ” ก็เผยโฉมดอกช่อแรกมาให้คนปลูกหัวใจเบิกบาน และชุ่มชื่นเหมือนมีน้ำฝนชโลมใจเลยทีเดียว

หลายคนคงอยากรู้จัก “ เพลิงภาณุ” วันนี้ป้าจึงรวบรวมเรื่องราวเกี่ยวกับไม้งามต้นมามาให้ได้รู้กัน

เพลิงภาณุ หรือ Flame treeเป็นไม้ยืนต้นที่มีถิ่นกำเนิดจาก พื้นที่ป่าฝนร้อนชื้นในแถบชายฝั่งด้านตะวันออกของประเทศออสเตรเลีย เมื่อออกดอกจะมีสีแดงบานเต็มต้นโดดเด่นเห็นแต่ไกล จึงได้ชื่อว่า Flame Tree
ด้วยความงามของต้นและดอก จึงมีผู้ขยายพันธุ์นำไปปลูกในพื้นที่ต่างๆทั่วโลก แต่ไม่ว่าจะเจริญเติบโตในพื้นที่ใด ไม้ต้นนี้ก็ยังคงสร้างความปิติให้แก่พื้นที่ที่ปลูกด้วยการออกดอกสวยงาม คล้ายดวงเทียนสีแดงสดสว่างไสว ไม่ว่าจะในป่าลึกหรือบนยอดภูเขาสูงทุกปีในช่วงก่อนวันคริตส์มาส

ไม้ต้นนี้ มีชื่อเสียงขจรกระจายด้วยทรงต้นสูงที่ปกคลุมด้วยช่อดอกที่ประกอบด้วยดอก เล็กๆทรงกระดิ่งสีแดงไปทั้งต้น โดยปราศจากใบ รู้จักกันดีในชื่อ ภาษาอังกฤษว่า Illawarra Flame Tree หรือบางคนเรียกสั้นๆว่า Flame Tree บางท้องถิ่นเรียกอีกชื่อว่า Kurrajong ในเมืองไทย มีผู้ตั้งชื่อเป็นภาษาไทยว่า “ เพลิงภาณุ” บางคนเรียกว่า “ เปลวพระเพลิง”
ชื่อทางวิทยาศาสตร์คือ Brachychlton acerifollus เป็นไม้ในวงศ์ Stercullaceae ซึ่งอยู่ในตระกูลเดียวกับต้นขวดที่มีลำต้นอวบ

มีคนกล่าวว่าไม้ต้นนี้พบครั้งแรกแถบภาคตะวันออกเฉียงใต้ของออสเตรเลีย ที่ Cape York รัฐ New South Wales แต่มีคำยืนยันที่แน่นหนาอีกว่า ไม้ต้นนี้เป็นต้นไม้ดั้งเดิมของเมือง Illawara Range ที่มีอากาศแห้งแล้งกว่า (จึงมีชื่อตามถิ่นที่พบ)

Illawara Flame Tree มีชื่อเสียงว่าเป็นไม้แบบ evergreen คือเขียวตลอดปี จนถึงช่วงออกดอกคือในช่วงก่อนคริตส์มาส ใบอันใหญ่โตก็จะเริ่มเหลืองคล้ายต้นเมเปิ้ล และร่วงหลุดไปหมดต้น และดอกช่อใหญ่สีแดงเพลิงก็จะออกมาแทนที่ ดังนั้นชาวไร่ในชนบทของออสเตรเลียจึงนิยมปลูกไว้เป็นแนวรั้วแสดงเขตพื้นที่ และเป็นแนวสองข้างทาง

ไม้ชนิดนี้ปลูกได้ดีในสภาพอากาศอบอุ่นมีแสงแดดส่องตรง ดินที่ปลูกควรเป็นดินร่วนระบายน้ำได้ดี เป็นต้นไม้ที่อดทนต่อทุกสภาพอากาศ ทั้งร้อนชื้นและแห้งแล้ง สามารถปลูกในเขตที่มีอากาศหนาวเย็นได้ แต่จะมีผลต่อการออกดอก เพราะจะทำให้ออกดอกเป็นบางครั้ง หรือออกดอกเป็นบางส่วนของต้นเท่านั้น ที่สำคัญคือต้องทำที่กำบังลมและอากาศหนาวให้แก่ต้นไม้นี้ ต้นที่พบว่ามีอายุมากที่สุดพบในออสเตรเลียตอนใต้ มีอายุมากกว่า 75 ปี

ลักษณะของต้น เป็นไม้ยืนต้น โตเร็ว สูงโปร่งประมาณ 15 – 20 เมตร พื้นผิวของลำต้นมีสีน้ำตาลเทา กิ่งแตกแยกตรงออกจากลำต้น รูปทรงต้นสวยงาม เหมาะที่จะปลูกประดับสวน หรือกลางสนามหญ้ากว้างๆ ด้วยใบที่ใหญ่และเขียวตลอดปี จะให้ร่มเงาที่ดี

มีใบใหญ่ เป็นแฉก 3-4 แฉกคล้ายใบเมเปิ้ล แต่ใหญ่กว่ามาก การพัฒนาของกลีบใบ เมื่ออายุการปลูกยังไม่มาก ใบจะมีแฉกน้อยกว่า 4 แฉก หรือมีแฉกไม่ชัดเจน ใบอ่อนสีเขียวอ่อน และเริ่มเขียวเข้ม พื้นผิวใบหนา มีเส้นกลางใบ เมื่อแก่จะกลายเป็นสีเหลืองและน้ำตาล ก่อนจะหลุดร่วง เมื่อฤดูออกดอกมาถึง


หลังจากปลูกประมาณ 5 ปีก็จะมีดอก ดอกมีลักษณะทรงกระดิ่ง พื้นผิวกลีบดอกเป็นมันคล้ายเคลือบด้วยขี้ผึ้งมีลักษณะขรุขระ สีแดงเข้มสว่าง มี 5 กลีบแยกออกจากกันตรงปลายกลีบ ดอกยาวประมาณ 1-2 ซม. ภายในมีช่อเกสรเล็กๆสีเหลือง ก้านดอกสีแดงเหมือนสีของกลีบดอก ยาวประมาณ 3 ซม. ช่อดอกสีแดง หรือสีน้ำตางแดง ยาวประมาณ 10 ซม.

ลักษณะการออกดอก มีหลายรูปแบบขึ้นอยู่กับสภาพภูมิอากาศ บางต้น( ในบางปี )อาจจะออกดอกเพียงครึ่งต้น หรือข้างเดียว บางต้นออกดอกปีเว้นปี บางต้นไม่ออกดอกเลย แต่ส่วนใหญ่ก็จะไม่ค่อยผิดพลาดหรือทำให้คนปลูกผิดหวังเพราะจะออกดอกมาให้ชม ทุกปี




ผลออกเป็นฝักยาว รูปเรือ แต่แบนและกว้างยาวประมาณ 10 ซม. ฝักมีสีน้ำตาลเข้ม มีเมล็ดสีเหลืองลักษณะแบนติดกับผนังของฝักอยู่ภายใน เมื่อแก่จะแตกออกเพื่อให้เมล็ดร่วงหล่นลงบนพื้น เมล็ดใช้เป็นอาหารของชนเผ่า อบิริจินี่ (Aborigines) ด้วยการนำมาคั่วหรืออบก่อนรับประทาน

ที่สวนลูกจันทร์ เราปลูกมา 6 ปีจึงได้เห็นดอกครั้งแรกในเดือนเมษายน ปี 2551 ซึ่งบอกตรงๆว่าเกือบถอดใจ เพราะไม่แน่ใจว่าเขาจะออกดอกหรือไม่

ในช่วงแรกที่ปลูกเขาโตเร็วมาก ต้นสูงโปร่ง ใบใหญ่ทึบ ให้ร่มเงาที่ดี ใบไม่ค่อยร่วงแม้ในช่วงที่อากาศแล้งสุดๆ หลังจากรอจนแทบหมดหวัง เมื่อดอกช่อแรกออกมา แม้จะไม่เต็มต้นเหมือนที่เคยเห็นในรูป ก็ทำให้คนปลูกหายเหนื่อยได้เหมือนกัน เราหวังว่า เมื่อเขาโต มีความสมบูรณ์เต็มที่ อีกไม่นาน ต้นไม้ไฟ ต้นนี้คงจะส่องแสงสว่างให้บ้านเรา จนสามารถเป็นจุดสังเกตุเห็นแต่ไกลได้อย่างสง่างาม

Welcome to my Garden.1


วันศุกร์ที่ 19 มีนาคม พ.ศ. 2553

Stop and smell the rose

Stop and smell the rose ประโยคนี้เห็นมานานจาก E-Card ที่มีคนส่งมาให้
เข้่าใจความหมายดี และนำไปสอนคนอื่นอยู่บ่อยๆ แต่คิดไม่ถึงว่า " ไม่เคยสอนตัวเองเลย"

วันนี้เป็นวันแรกที่เข้าใจมันอย่าง ลึกซึ้ง !
และได้รับตอบแทนกลับมาอย่างสมบูรณ์ สมปรารถนา อย่างคาดไม่ถึง

หลังจากใช้วิธีออกกำลังกายมาช่วย เยียวยาความคิดอันสับสนอยู่ พักใหญ่
ผลที่ได้รับดีในระดับหนึ่ง แต่วิธีการดูจะไม่สร้างสรรค์เอาเสียเลย
สำหรับฉัน การออกกำลังกายเป็นช่วงเวลาที่จะได้อยู่กับตัวเองอย่างแท้จริง โดยไม่ต้องกังวลกับคนรอบข้าง แถมยังช่วยให้ได้ร่างกายแข็งแรงอีกด้วย

ทุกวันฉันเดินอย่างตั้งใจ ใช้สมาธิในการเดิน โดยไม่ลืมที่จะหายใจเอาอากาศที่สกปรกน้อยที่สุดเข้าปอด
ฉันเดินไปตามทิศทางเดิม เวลาเดิม ความเร็วเท่าเดิม พบผู้คน( ที่ไม่เคยทักทายกันเลย) กลุ่มเดิม
และกลับถึงบ้านเวลาเดิม ฉันตั้งเวลาไว้ในใจทุกวัน โดยไมรู้ว่าทำไมต้องรีบ

สิ่งที่ฉันเห็นคือ วิวเดิมๆ และ ด้านหลังของคนที่เดินไปในทางเดียวกัน ทุกวัน
วันไหนที่มีคนผ่าเหล่าเดินสวน ทิศทางมา แม้ไม่ใช่เรื่องผิดระเบียบของสถาน ที่
แต่ฉันก็ยังไม่วาย นึกตำหนิในใจ ว่า
" มาจากไหนกันเนี่ย " หรือ
"หมอนี่แปลกคน ทำไมไม่ดูคนอื่นเขาบ้าง"

มันเป็นวันนี้เองที่ ฉันอยากจะใช้เวลากับตัวเอง และเพลงเพราะจาก MP3 ของฉันอีกสักพัก
วิธีที่จะยืดเวลาออกไปแค่พอเหมาะ กับกำลังขาของฉันก็คือการ เดินเพิ่มอีกครึ่งทาง

ความคิดหนึ่งแว่วเข้ามาในสมอง ให้ลองเลี้ยวไปในทางที่ไม่เคยเดิน ไปมาก่อน
ฉันเดินในสวนนี้มาเกือบปีแล้ว แต่ไม่เคยเดินออกนอกถนนวงกลมรอบ สวนนี้เลย
มันน่าแปลกใจมาก ที่ฉันรู้สึกสุขใจอย่างประหลาดกับวิวสองข้างทางที่ไม่เคยเห็นมาก่อน
ยิ่งลึกเข้ามากลางสวน อากาศก็ยิ่งเบาสบาย ดอกไม้สองข้างทางปรากฏให้เห็นตลอดทาง

ฉันหยุดดมกลิ่นดอกไม้ ชมสีสัน ของกลีบงาม มันช่างสวยงามและสดชื่นอะไรเช่นนี้หนอ
ฉันวางความคิดเรื่องการเดินเร็ว เพื่อทำเวลา ให้ได้ตามที่ตั้งใจไว้
แล้วหยุดดื่มด่ำความสงบของสวน ดอกไม้ข้างทาง
สิ่งที่ชีวิตฉัน หัวใจฉัน ต้องการก็แค่นี้ล่ะ ความสุขไง

เราเดินผ่านมันมาทุกวัน แต่ไม่เคยหยุดเก็บเกี่ยวมันเลย
เราพยายามหาวิธีเยียวยาจิตใจ แต่ไม่เคยรักษาตัวเอง

วันนี้นอกจากดอกไม้ข้างทางแล้ว ฉันยังเห็หน้าเพื่อนร่วมทางที่ มาออกกำลังกายเป็นครั้งแรก
เพราะฉันกำลังเดินย้อนทางกับพวก เขา
มีผู้คนเดินมาตามทางเป็นร้อย มีเพียงฉันคนเดียวเท่านั้นที่เดิน สวนทางไป
วันนี้อาจมีใครสักคนในร้อยคนนั้น บ่นว่าฉันใจใน
" มาจากไหนกันเนี่ย " หรือ
"ยัยนี่แปลกคน ทำไมไม่ดูคนอื่นเขาบ้าง"

บ่นไปเถอะ ฉันไม่สนใจ เพราะวันนี้ แม้จะทำในสิ่งที่ตรงข้ามกับเขา
แต่ฉันมีความสุขเหลือเกิน



When I was a child
I could see the wind in the trees
And I heard a song in the breeze
It was there, singing out my name

But I am not a girl
I have known the taste of defeat
And I have finally grown to believe
It will all came around again

And though I may not
Know the answers
I can finally say I am free
And if the questions
Led me here, then
I am who I was born to be

And so here am I
Open arms and ready to stand
I've got the world in my hands
And it feels like my turn to fly

When I was a child
There were flowers that bloomed in the night
Unafraid to take in the light
Unashamed to have braved the dark

I am who I was born to be
I am who I was born to be.


Susan Boyle : Who I Was Born To Be
Songwriters: Fransson, Johan; Larsson, Tim Mikael; Lundgren, Tobias; Mae, Audra;

http://www.youtube.com/watch?v=N6AgxgPt6dE










วันจันทร์ที่ 15 มีนาคม พ.ศ. 2553

Cherry Blossom

Kikuzakura (Chrysanthemum Cherry)
ช่วงเวลาที่บาน - ปลายเดือนเมษา ถึงกลางเดือนพฤษภาคม
ซากุระพันธุ์ Kikuzakura นั้นมีกลีบดอกมากกว่า 100 กลีบ ดอกมีลักษณะคล้ายกับดอกเบญจ
มาศ (kiku) จึงตั้งชื่อพันธุ์นี้ว่า Kikuzakura ซึ่งเป็นพันธุ์ที่บานช้าที่สุดอีกพันธุ์หนึ่ง และเมื่อดอกบานเต็มที่ใบที่มีอยู่ทั้งหมดจะร่วงจนหมด สีของซากุระพันธุ์ Kikuzakura นี้จะมีสีชมพูเข้ม

ขอบคุณข้อมูลจาก http://www.japankiku.com/


Shidarezakura (Weeping Cherry)
ช่วงเวลาที่บาน - ปลายเดือนมีนาคม หรือต้นเมษา
ซากุระพันธุ์ Shidarezakura จะมีลักษณะลำต้นเป็นทรงหยดน
้ำ คือช่อดอกจะออกเป็นกลุ่มและห้อยลงมาจากกิ่ง จึงจัดว่าเป็น weeping ซากุระพันธุ์จะมีกลีบดอกทั้งหมด 5 กลีบ และในบางสายพันธุ์ก็จะมีมากกว่า 5 กลีบ ปัจจุบันเรียกว่า Yaeshidare sakura

ขอบคุณข้อมูลจาก http://www.japankiku.com/



Ichiyo
ช่วงเวลาที่บาน - กลางเดือนเมษายน
ซากุระพันธุ์ Ichiyo มีกลีบดอกเป็นสีชมพูอ่อน มีกลีบดอกประมาณ 20 กลีบ และมีใบเลี้ยงเป็นสีเขียว เมื่อดอกบานซึ่งซากุระส่วนม
ากเมื่อดอกบานก็จะผลัดใบจนหมด แต่พันธุ์นี้ยังมีใบอ่อนแซมระหว่างช่อดอก

ขอบคุณข้อมูลจาก http://www.japankiku.com/





Somei Yoshino (Yoshino Cherry)
ช่วงเวลาที่บาน - ปลายเดือนมีนาคม หรือต้นเมษา
มีการค้นพบกว่าซากุระพันธุ์
Somei Yoshino นั้นมีการเริ่มปลูกมาในสมัย Edo และเป็นพันธุ์ที่สามารถพบเห็นได้ทั่วไปในประเทศญี่ปุ่น สีของซากุระพันธุ์ Somei Yoshino นี้จะเป็นสีขาวอมชมพู มีทั้งหมด 5 กลีบ