วัดศรีสุริยวงศารามวรวิหาร
เมื่อสุดสัปดาห์ที่ผ่านมา ได้ไปเยี่ยมหลวงพี่ ซึ่งเป็นรุ่นพี่สมัยเรียนหนังสือ
หลวงพี่มาบวชที่วัด ที่บ้านเกิดชื่อวัดศรีสุริยวงศารามวรวิหาร
ครั้งแรกที่ได้ยินชื่อวัดก็ไม่แปลกใจมากนัก เพราะคุ้นเคยกับนามของ
เจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ มานาน
ยอมรับว่าขณะที่ยังมาไม่ถึงเมืองราชบุรี
นึกวาดภาพวัดนี้เป็นเพียงวัดธรรมดาๆเหมือนวัดทั่วไป
แต่เมื่อ ได้มาเห็นของจริงก็ถึงกับตลึงในความแปลกเหนือความคาดหมายจริงๆ
ยอมรับว่าขณะที่ยังมาไม่ถึงเมืองราชบุรี
นึกวาดภาพวัดนี้เป็นเพียงวัดธรรมดาๆเหมือนวัดทั่วไป
แต่เมื่อ ได้มาเห็นของจริงก็ถึงกับตลึงในความแปลกเหนือความคาดหมายจริงๆ
น่าแปลกใจที่วัดนี้กลับไม่ค่อยมีนักท่องเที่ยวมาเยี่ยมชมมากนัก
ทั้งๆที่มีความงดงามที่หาชมได้ยากกว่าวัดทั่วไป
จากชื่อวัด เราก็คงทราบกันดีว่า ต้องเกี่ยวข้องกับ
เจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์อย่างแน่นอน
เจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์อย่างแน่นอน
เนื่องจากท่านเป็นผู้สร้างวัดนี้นั่นเอง เราจึงควรทราบประวัติโดยย่อของท่านกันก่อน
สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ (ช่วง บุนนาค)( พ.ศ.2351-2425) ขุนนางชั้นผู้ใหญ่ของไทยในสมัยรัตนโกสินทร์ ผู้มีบทบาทสำคัญในการเมืองการปกครองของไทย โดยเริ่มเข้ารับราชการเป็นมหาดเล็กในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย และได้รับการสถาปนาขึ้นเป็นสมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ซึ่งนับเป็นผู้ที่ดำรงตำแหน่ง "สมเด็จเจ้าพระยา" เป็นคนสุดท้าย นอกจากนี้ ท่านยังมีบทบาทในการอัญเชิญพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ขึ้นครองสิริราชสมบัติและได้รับการแต่งตั้งเป็นผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2411 - พ.ศ. 2416 ด้วย
นอกจากด้านการปกครองแล้ว ท่านยังมีบทบาทสำคัญในด้านวรรณกรรม การละคร และดนตรี รวมถึงเป็นแม่กองในการก่อสร้าง บูรณะ ซ่อมแซม สถานที่ต่าง ๆ มากมาย เช่น พระนครคีรี พระอภิเนาว์นิเวศน์ คลองผดุงกรุงเกษม เป็นต้น
สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์มีชีวิตยืนยาวถึง 5 รัชกาล ตั้งแต่เกิดในปลายรัชกาลที่ 1 และถึงแก่พิราลัยด้วยโรคลมขณะที่กำลังเดินทางกลับจากราชบุรี เมื่อ พ.ศ. 2425 ในสมัยต้นรัชกาลที่ 5 โดยมีอายุยืนยาวถึง 75 ปี
หลังพ้นหน้าที่ผู้สำเร็จราชการแผ่นดิน ท่านก็ชอบออกไปตรวจราชการตามหัวเมืองต่าง ๆ และพำนักอยู่ที่เมืองราชบุรีเป็น ส่วนใหญ่ นับเป็นเวลา 9 ปี ในวันที่ 19 มกราคม พ.ศ. 2425 ท่านถึงแก่พิราลัยด้วยโรคลมขณะที่กำลังเดินทางกลับจากราชบุรี
วัดศรีสุริยวงศ์ ตั้งอยู่ในเขตตำบลหน้าเมือง อำเภอเมือง จังหวัดราชบุรี สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ (ช่วง บุนนาค) สร้างขึ้นด้วยทุนทรัพย์ส่วนตัวในปี พ.ศ.๒๔๑๕ เพื่อเป็นวัดประจำตระกูลบุนนาค เมื่อแล้วเสร็จในปี พ.ศ.๒๔๒๑ ได้ถวายให้เป็นพระอารามหลวง พร้อมกับขอพระราชทานนามวัดและวิสูงคามสีมา พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ ๕) ได้พระราชทานนามว่า “วัดพระศรีสุริยวงศาราม” ปัจจุบันนิยมเรียกกันสั้นๆ ว่า “วัดศรีสุริยวงศ์”
วัดศรีสุริยวงศารามวรวิหาร ที่ตั้งเดิมเป็นที่ดินรกร้างใกล้ชุมชนตลาด ซึ่งเป็นที่ดินของสมเด็จเจ้าพระยาบรมหาศรีสุริยวงศ์ (ช่วง บุนนาค) ผู้สำเร็จราชการแผ่นดินและสมุหพระกลาโหมในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้า อยู่หัว (รัชกาลที่ ๕) ท่านมีดำริว่าจะสร้างวัดให้เป็นวัดประจำตระกูลบุนนาค โดยสร้างวัดนี้ขึ้นด้วยทุนทรัพย์ส่วนตัวของท่านเอง ลงมือก่อสร้าง
เมื่อประมาณปี พ.ศ. ๒๔๑๗ และเมื่อสร้างวัด มีเสนาสนะ พระอุโบสถ พระเจดีย์ เสร็จเรียบร้อยแล้ว ได้กราบบังคมทูลน้อมเกล้า ฯ ถวายวัดให้เป็นพระอารามหลวงและขอพระราชทานนามวัดและที่วิสุงคามสีมา พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดพระราชทานนามวัด
ว่า"วัดศรีสุริยวงษาวาส"
ว่า"วัดศรีสุริยวงษาวาส"
สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์เป็นคน “หัวก้าวหน้า” รวมทั้ง ชอบคบหาสมาคมกับชาวต่างประเทศและรับความเจริญมาจากชาติตะวันตก วัดศรีสุริยวงศารามวรวิหาร จึงเป็นวัดที่มีสถาปัตยกรรมในรูปแบบที่เป็นเอกลักษณ์ ทรงคุณค่าเป็นมรดกวัฒนธรรมของชาติที่ควรอนุรักษ์ไว้ ด้วยผู้สถาปนาวัดนี้ ในช่วงนั้นเป็นช่วงระยะเวลาที่ไทยเริ่มเผชิญวิกฤตการณ์กับชาติตะวันตก ท่านเจ้าคุณได้ใช้ความปรีชาฉลาดปรับตัวให้เข้ากับเหตุการณ์ เพื่อปกป้องศาสนา
สถาปัตยกรรมที่สำคัญของวัด คือ พระอุโบสถมีลักษณะเป็นสถาปัตยกรรมไทยผสมผสานกับศิลปะตะวันตกแบบกอธิค (Gothic)
หน้าบันปูนปั้นรูปตราสุริยะรองรับด้วยรูปช้างสามเศียรและขนาบข้างด้วยฉัตร เจ็ดชั้น ชายคาปีกนกรองรับด้วยเสากลมแบบคอรินเธียน ระหว่างเสาแต่ละต้นเชื่อมต่อด้วยรูปโค้งครึ่งวงกลมแบบอาร์คโค้ง (arch) หลังคาเป็นกระเบื้องดินเผา ไม่มีช่อฟ้าใบระกา
เดิมพื้นเป็นกระเบื้องโมเสก ปัจจุบันใช้เป็นหินอ่อน
แต่ยังมีผนังภายในโบสถ์ที่ใช้กระเบื้องแบบเก่าที่งดงามมาก
ผนังโบสถ์เป็นปูนวาดลายแปลกตา หลวงพี่ เล่าให้ฟังว่า ในสมัยรัชกาลที่ 5 ซึ่งเป็นช่วงที่สร้างวัดนี้ ความที่ผู้สร้างอยากได้พื้นผนังปูด้วยหินอ่อน แต่ราคาหินอ่อนสมัยนั้นแพงมาก เพราะต้องซื้อและส่งมาทางเรือจากอิตาลีเท่านั้น
ในเมื่อไม่สามารถซื้อหินอ่อนจากอิตาลีได้ เจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ จึงได้ให้ช่างฉาบผนังด้วยปูน โดยให้เซาะร่องคล้ายกับรอยต่อของแผ่นหินอ่อน และลงสีวาดลายให้เป็นลายหินอ่อน ที่เห็นในปัจจุบันจึงยังคงเป็นลวดลายเดิมที่ได้รับการรักษาไว้
ในพระอุโบสถมีพระบรมศาทิศลักษณ์พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และรูปวาดของสมเด็จเจ้าพระยาบรมหาศรีสุริยวงศ์ (ช่วง บุนนาค) เพื่อเป็นเครื่องระลึกถึงผู้ที่มีอุปการคุณต่อวัด
พระประธาน เป็นพระพุทธรูปสัมริด ลงรักปิดทอง พุทธลักษณะ ศิลปะรัตนโกสินทร์ ปางมารวิชัย หน้าตักกว้าง ๑.๑๕ เมตร สูงจากฐานถึงเกศ ๑.๗๕ เมตร
ซุ้มประตูเป็นรูปหน้าจั่วประดับลวดลายนกยูงและพระอาทิตย์ ซุ้มหน้าต่างเป็นรูปหน้าจั่วประดับลวดลายรูปดาวเปล่งรัศมี
เพดานภายในประดับลวดลายปูนปั้นทาสีแบบลายเทศ เป็นลวดลายแบบฝรั่งที่งดงาม
คงต้องบอกเลยว่า จุดนี้เป็นจุดที่ประทับใจที่สุดสำหรับฉัน
บางคนอาจสงสัยว่าแท่งนี้คืออะไร ฉันเองก็เพิ่งเข้าใจ
เมื่อช่วยกันปิดประตู และหน้าต่างโบสถ์ แท่งนี้คือสลัก หรือกลอนประตูแบบโบราณนั่นเอง
เสมารอบตัวโบสถ์ เป็นแบบที่ต่างจากวัดทั่วๆไป ดูเรียบง่ายดี ไม่วิจิตรเหมือนวัดอื่น
สิ่งก่อสร้างที่สำคัญอีกอย่างหนึ่งคือ ซุ้มประตูวัด ลักษณะเป็นซุ้มประตูทรงโค้งตกแต่งด้วยลวดลายปูนปั้นและเสากลมด้านละ ๓ เสา ซุ้มประตูนี้ สร้างขึ้นโดยท่านเจ้าคุณ พระศรีธรรมานุศาสน์ (สุมิตฺตเถร) แทนซุ้มประตูทที่รื้อถอนไปเพื่อขยายอาณาเขตวัดให้กว้างขวาง โดยใช้สถาปัตยกรรมแบบเดียวกับพระอุโบสถ
ตรงกลางซุ้มมีอักษรระบุชื่อ “ วัดศรีสุริยวงศ์ ” มีลวดลายปูนปั้นประดับตกแต่งอย่างสวยงาม ประตูนี้สร้างแทนของเดิมที่หักพังไปเมื่อปี พ.ศ.๒๔๙๓ กรมศิลปากรประกาศขึ้นทะเบียนวัดศรีสุริยวงศ์ เป็นโบราณสถานของชาติ เมื่อวันที่ ๑๐ กันยายน ๒๕๔๔
ด้านบนมีประติมากรรมลอยตัวรูปเทวดาเด็กมีปีก
หอระฆัง ก็มีอิทธิพลของสถาปัตย์กรรมฝรั่ง
บรรไดแคบๆสำหรับพระขึ้นไปตีระฆัง
ด้านล่างของหอระฆัง เป็นหอกลอง ขณะถ่ายรูปก็ต้องตกใจ
เพราะ พระท่านลั่นกลองเวลาเพลนั่นเอง
อาหารที่เรานำไปถวายหลวงพี่ เป็นอาหารง่ายๆ ( ที่เราชอบ )คือผัดผักรวมกับกุ้ง
แต่ก็ต้องหาอาหารที่พระชอบด้วยเช่นกัน เพราะมีพระมาร่วมวงฉันท์เพลด้วยหลายองค์
จานที่สองจึงเป็นปลาดุกผัดฉ่า
นี่ก็อีก 1 ปลา คือ ผัดพริกขิงปลาดุกกรอบ
จานพิเศษของวันนี้ นี่คือ ปลาช่อนทอดกรอบ กับผัดมะเขือยาว
พระท่านคงฉันท์แบบงงๆ แต่ก็เกือบหมด
พระท่านคงเบื่อกับอาหารจานนี้ แต่ฉันชอบมาก นี่คือไข่เจียวหมูสับ ที่อร่อยมากๆ
ที่จริงยังมีน้ำพริกลงเรือ แต่ไม่ได้ถ่ายรูปไว้
ของหวานเป็นผลไม้ เชอรรี่หวานกรอบอร่อยมาก
ทันทีที่เห็น โดนัท ( ยี่ห้อแถวยาว) กล่องนี้ หลวงพี่หันมามองอย่างรู้ทันว่า
ที่เราซื้อมาก็เพราะอยากกินเองมากกว่า
หลังจากฉันท์เสร็จ พระท่านก็ให้ศีลให้พร
เราก็กรวดน้ำทำบุญอุทิศส่วนกุศลไปให้ผู้ที่เกี่ยวข้องตามประเพณี
หลวงพี่คงรู้ว่าเราหิว เลยเรียกให้กินข้าว
เราก็ไม่รอช้า รีบล้อมวงกินข้าวก้นบาตร ของหลวงพี่ด้วยความอร่อย
แต่..ก็ต้องทำใจให้เข้มแข็งนิดหน่อย ตรงที่โดนัท ที่นำมาถวาย ไม่เหลือแล้ว
เพราะเณรสององค์ ที่ร่วมวงฉันท์กับหลวงพี่ ชอบเป็นพิเศษเหมือนเรา
เอาน่า ...มาทำบุญนะโย๊มมมมม
ข้อมูลเรื่อวัด บางส่วนนำมา
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
หากต้องการทราบ โปรดอ่านเพื่อเติมได้
"เพราะเณรสององค์ ที่ร่วมวงฉันท์กับหลวงพี่ ชอบเป็นพิเศษเหมือนเรา
ตอบลบเอาน่า ...มาทำบุญนะโย๊มมมมม"
ฮ่า ฮ่า ฮ่า ขำตรงตบท้าย วันนี้
ประวัติของวัด ช่างสรร ช่างค้น ขอปรบมือสดุดี
รูปก็ถ่ายแจ่มเหลือ ของผมยังไม่ได้เปิดดูครับแม้กระทั่งแค่ชำเลือง
Nice temple,different look,interesting foods
ตอบลบพระท่านคงเห็นโยม มองโดนัทไม่วางตามังคะป้า ท่านเลยปลอบใจโยมไว้ก่อน ฮ่าๆๆๆๆ เกรงว่าโยมจะลืมว่ามาทำบุญนะ
ตอบลบชอบหอระฆังค่ะป้า ดูเรียบ มองไม่เบื่อเลย ขอบคุณป้าที่พาทัวร์วัด สวยค่ะ เห็นอาหารถวายพระแล้ว อยากเป็นลูกศิษย์วัดจังงงงง
ถ้าปล่อยให้น้ำไหลลงที่รองโดยไม่มีนิ้วกั้นตอนกรวดน้ำผู้ที่เราตั้งใจอุทิศส่วนกุศลให้จะได้รับโดยไม่มีอะไรกีดขวางนะคะ ป้าลิลลี่ ขออนุโมทนาบุญด้วยค่ะ
ตอบลบ