คนไทยสมัยก่อนเวลาจะเดินทางไปต่างท้องถิ่นไม่สะดวกสบาย
รวดเร็วเหมือนทุกวันนี้ บางเส้นทางต้องใช้เวลาเดินทางแบบข้ามวันข้ามคืน หากไม่มีบ้านญาติหรือคนรู้จักอยู่ที่ปลายทาง
จึงมักจะหมายเอา “
วัด ”เป็นที่พักพิงอยู่เสมอ เพราะวัดมีสถานที่
และพื้นที่ว่างมากมาย อีกทั้งยังเป็นแหล่งที่เป็นที่พึ่งของชาวบ้านในทุกเรื่องอยู่แล้ว
การเข้าพักตามวัดจึงไม่มีปัญหายุ่งยากสำหรับคนไทย แค่เข้าไปกราบขออนุญาติจากท่านสมภาร
ก็เป็นอันเสร็จพิธีแล้ว ที่เหลือก็แล้วแต่หลวงพี่ผู้ดูแลวัดจะกรุณาว่าจะให้นอนกันที่ศาลา
หรือกุฏิไหน หากไม่มีจริงๆ ที่ศาลาท่าน้ำหน้าวัดก็ยังนอนได้ แถมเย็นดีอีกต่างหาก
แค่มีมุ้งกางกันยุงให้ แค่นี้ก็หลับสบายแล้ว
ช่วงเช้าตื่นขึ้นมา หากขยันสักหน่อย อยู่ช่วยคอยปรนนิบัติพระท่าน ผู้พักก็จะมีอาหารเช้ารับประทานอย่างอิ่มหนำโดยไม่ต้องเสียเงินอีกด้วย เรียกได้ว่าเป็นบริการ Bed & Breakfast ฉบับโบราณเลยทีเดียว แต่ ... บริการนี้จะใช้ได้ดีกับผู้พักที่ไม่กลัวเท่านั้น เพราะวัดบางแห่งมักมีชื่อเสียงโด่งดังเรื่องผีดุ หรือไม่ก็มีงานศพในวัด ไม่ขาดสาย ตามศาลาต่างๆของวัดจึงมักจะมีการจองที่นอนอยู่แล้ว ผู้ที่จะเข้ามาพักชั่วคราวจึงต้องทำใจให้หนักแน่นสักหน่อย หากจะขอแบ่งที่นอนกับผู้ที่นอน( รอพระสวด) อยู่ในศาลานั้นก่อนแล้ว
ที่พูดถึงเรื่องการไปนอนวัดขึ้นมาก็เพราะ ช่วงไปเที่ยวญี่ปุ่น ซึ่งเป็นการเที่ยวแบบผจญภัยไม่เหมือนใคร ก็ได้มีโอกาสไปนอนตามวัดของเขามาด้วย เมื่อเอาประสบการณ์การนอนวัดมาเปรียบกัน ระหว่างวัดไทย กับวัดญี่ปุ่นแล้ว ดูเหมือนว่าจะเป็นหนังคนละเรื่องกันเลย เพราะแตกต่างกันโดยสิ้นเชิง ทั้งบรรยากาศ ความรู้สึก และการบริการ ที่ต้องมีคำว่า “ การบริการ” เข้ามาเกี่ยวข้อง ก็เพราะ การไปนอนวัดในญี่ปุ่น ปัจจุบันจัดเป็นบริการท่องเที่ยวประเภทหนึ่ง คล้ายกับการมาเที่ยวทำสปา หรือ บำบัดสุขภาพตามรีสอร์ทหรูๆของบ้านเรา เพียงแต่ที่นี่ เป็น “ วัด” เจ้าค่ะ
ช่วงเช้าตื่นขึ้นมา หากขยันสักหน่อย อยู่ช่วยคอยปรนนิบัติพระท่าน ผู้พักก็จะมีอาหารเช้ารับประทานอย่างอิ่มหนำโดยไม่ต้องเสียเงินอีกด้วย เรียกได้ว่าเป็นบริการ Bed & Breakfast ฉบับโบราณเลยทีเดียว แต่ ... บริการนี้จะใช้ได้ดีกับผู้พักที่ไม่กลัวเท่านั้น เพราะวัดบางแห่งมักมีชื่อเสียงโด่งดังเรื่องผีดุ หรือไม่ก็มีงานศพในวัด ไม่ขาดสาย ตามศาลาต่างๆของวัดจึงมักจะมีการจองที่นอนอยู่แล้ว ผู้ที่จะเข้ามาพักชั่วคราวจึงต้องทำใจให้หนักแน่นสักหน่อย หากจะขอแบ่งที่นอนกับผู้ที่นอน( รอพระสวด) อยู่ในศาลานั้นก่อนแล้ว
ที่พูดถึงเรื่องการไปนอนวัดขึ้นมาก็เพราะ ช่วงไปเที่ยวญี่ปุ่น ซึ่งเป็นการเที่ยวแบบผจญภัยไม่เหมือนใคร ก็ได้มีโอกาสไปนอนตามวัดของเขามาด้วย เมื่อเอาประสบการณ์การนอนวัดมาเปรียบกัน ระหว่างวัดไทย กับวัดญี่ปุ่นแล้ว ดูเหมือนว่าจะเป็นหนังคนละเรื่องกันเลย เพราะแตกต่างกันโดยสิ้นเชิง ทั้งบรรยากาศ ความรู้สึก และการบริการ ที่ต้องมีคำว่า “ การบริการ” เข้ามาเกี่ยวข้อง ก็เพราะ การไปนอนวัดในญี่ปุ่น ปัจจุบันจัดเป็นบริการท่องเที่ยวประเภทหนึ่ง คล้ายกับการมาเที่ยวทำสปา หรือ บำบัดสุขภาพตามรีสอร์ทหรูๆของบ้านเรา เพียงแต่ที่นี่ เป็น “ วัด” เจ้าค่ะ
ก่อนที่จะออกเดินทางไปญี่ปุ่น เราต้องทำการบ้านกันอย่างหนักเพื่อหาสถานที่ท่องเที่ยวที่ถูกต้องตรงใจ นั่นคือ แปลก ดี สวยงาม สงบ และ ไม่ไกลมาก ขณะกำลังค้นอยู่ก็เห็นมีคนญี่ปุ่นเขียนแนะนำเรื่องการเดินทางไปพักผ่อนในวัด เพื่อบำบัดสุขภาพกาย และ ใจ ซึ่งปัจจุบันมีวัดเปิดให้บริการหลายแห่ง และหลายวัดมีข้อมูลมานำเสนอบนเวบไซต์ให้เราได้ศึกษากันก่อนจะตัดสินใจ ในที่สุดเราก็ตกลงใจที่จะเดินทางไปพักที่วัด Ichijo-in ซึ่งตั้งอยู่บนยอดเขา Hashimoto จังหวัด Wakayama ไม่ไกลจากเมืองโอซาก้า เท่าใดนัก และที่น่าสนใจมากกว่านั้นคือ เมือง Koyasan ที่ตั้งอยู่บนยอดเขาแห่งนี้ ได้รับคัดเลือกให้เป็นเมืองมรดกโลกอีกด้วย
จากการศึกษาเส้นทางกับศูนย์ข้อมูลการท่องเที่ยว เมืองโอซาก้า ก็พบว่า เราต้องเดินทาง โดยทางรถไฟไปยังเมือง Gokurakubashi เพื่อต่อรถเคเบิ้ลคาร์ขึ้นไปยังยอดเขา ซึ่งเป็นที่ตั้งของเมือง Koyasan ที่มีความสูง กว่า 1,000 ฟุตเหนือระดับน้ำทะเล จากนั้นต้องต่อรถบัสไปยังวัดอีกทอดหนึ่ง แค่เห็นภาพการเดินทางแบบย่อๆแล้ว คิดว่าคงไม่ควรนำสัมภาระติดตัวไปทั้งหมด เพราะจะเป็นภาระแก่ตัวเรามาก คิดได้ดังนั้นจึงฝากกระเป๋าเดินทางทั้งหมดของเราไว้ที่โรงแรมในเมืองโอซาก้า โดยมีเพียงของใช้ส่วนตัวที่จำเป็นเท่านั้น ติดตัวไป
วันเดินทาง เราไปโดยทางรถไฟสู่เมือง Koyasan ในเวลา 8.00 น. โดยจะใช้เวลาประมาณ 2 ชั่วโมงครึ่ง รถไฟแล่นฝ่าความวุ่นวายยามเช้าของเมืองโอซาก้า มุ่งหน้าไปทางทิศใต้ ความแออัดวุ่นวาย ไม่ได้มีแค่ตามถนนหนทาง แต่ในยามเช้าที่ทุกคนกำลังเดินทางออกไปทำงานอย่างนี้ บนรถไฟก็แน่นด้วยผู้คนยิ่งกว่าข้างนอก บรรยากาศบนรถยิ่งดูก็ยิ่งเหมือนตู้บรรทุกหุ่นยนต์ เพราะทุกคนแต่งตัวเหมือนกันด้วยสูทสีดำ กางเกงดำ เสื้อขาว ผูกเนคไท สียอดนิยมคล้ายกัน ต่างคนต่างยืนนิ่ง นั่งนิ่งๆ นั่งกดโทรศัพท์ หรือนั่งหลับ เหมือนกัน ไม่มีเสียงทักทายพูดคุย ดูคล้ายกับว่าเขาไม่ได้อยู่เมืองเดียวกัน
ท่ามกลางฝูงหุ่นยนต์บนรถไฟ ก็มีกลุ่มของเราแทรกอยู่ตรงกลางที่สามารถมองเห็นความแตกต่างได้อย่างชัดเจน จากสี และ ชนิดของเสื้อผ้า และที่สำคัญ เรามีรอยยิ้ม และ เสียงหัวเราะให้แก่กัน ดูแล้วเป็นภาพที่ค่อนข้างแตกต่างกันอย่างมากตรงที่ คนที่กำลังจะเดินทางไปหาความสงบในวัดกลับเป็นผู้ที่มีความสุข แต่คนที่ต้องลงจากรถก่อนถึงวัด กลับเป็นผู้ที่มีแต่ความเครียด คิดไปเองว่า หากเพียงคนที่ยืนเครียดอยู่บนรถขบวนนี้ทั้งหมด จะโดยสารรถไฟคันนี้ต่อไปยังวัดใดวัดหนึ่งใน Kayasan พวกเขาคงมีชีวิตที่ผ่อนคลายและมีความสุขมากกว่านี้
ทันทีที่รถหลุดออกมาจากเมืองโอซาก้า รถไฟขบวนนี้ก็วิ่งอย่างอิสระไปในทุ่งนา ผ่านลำธารที่มีสายน้ำใสไหลเอื่อยจนเห็นฝูงปลาคราฟแหวกว่ายน้ำเล่นฝูงใหญ่ นอกจากรถไฟจะเป็นอิสระจากความหนาแน่นของเมืองแล้ว ผู้คนภายในตู้โดยสารก็เบาบางลงไปมาก มีเพียงนักเรียนไม่กี่คนที่เดินทางไปโรงเรียนด้วยรถไฟขบวนนี้ ช่วงนี้แทนที่จะนั่งอยู่กับที่นั่ง เราต่างก็ยืนมองออกไปนอกหน้าต่าง เพื่อชมธรรมชาติของสองข้างทางกัน ยิ่งวิ่งไกลออกไป ทางรถไฟก็ดูเหมือนว่าจะวิ่งขึ้นที่สูงขึ้นไปทุกที
จนในที่สุดเราก็มาถึงสถานีหนึ่งซึ่งจำชื่อไม่ได้แล้ว
เพราะไม่มีบอกไว้ในแผนการเดินทาง ที่สถานีนี้รถไฟทั้งขบวนแทบจะไม่เหลือผู้คนเท่าใดนัก
ที่เหลืออยู่บนรถมีเพียงชาวบ้านแถบใกล้เคียง สองสามกลุ่ม นอกนั้นเป็นนักท่องเที่ยวฝรั่งเพียง 2 คน และกลุ่มของเรา
เพียง 4 คนเท่านั้น จึงไม่แปลกเลยที่กลุ่มของเราจะได้รับการเชิญให้เปลี่ยนตู้รถ
เพื่อรวบรวมผู้โดยสารจำนวนน้อยนิดไว้ในตู้เดียวกัน และตัดตู้ที่ไม่มีผู้โดยสารทิ้งไว้ที่สถานีนี้
ดูแล้วก็เป็นเหตุผลที่สมควรสำหรับเขา เพราะช่วงเส้นทางจากสถานีต่อไปจะเป็นเส้นทางที่รถไฟต้องไต่ขึ้นไปตามความสูงของภูเขา หากนำตู้รถไฟว่างๆติดไปด้วย ก็จะเป็นภาระเรื่องน้ำหนักเสียเปล่าๆ ดังนั้นผู้โดยสารที่จะเดินทางไป Koyasan ทุกคนจึงมารวมอยู่ในรถคันเดียวกัน
จากสีหน้างุนงงเมื่อถูกเรียกให้เปลี่ยนรถ
( ด้วยภาษาญี่ปุ่นที่เราไม่เข้าใจ) ขณะนี้กลับมีความเข้าใจและผ่อนคลายมากขึ้น ผู้โดยสารในรถคันนี้ต่างก็ส่งสายตาพร้อมรอยยิ้มให้แก่กัน
เพราะนับจากนี้ไป เราจะเดินทางไปจุดหมายปลายทางเดียวกันคือ เรากำลังไปหาความสงบสุขทางใจที่รอเราอยู่ข้างหน้า ดูแล้วก็เป็นเหตุผลที่สมควรสำหรับเขา เพราะช่วงเส้นทางจากสถานีต่อไปจะเป็นเส้นทางที่รถไฟต้องไต่ขึ้นไปตามความสูงของภูเขา หากนำตู้รถไฟว่างๆติดไปด้วย ก็จะเป็นภาระเรื่องน้ำหนักเสียเปล่าๆ ดังนั้นผู้โดยสารที่จะเดินทางไป Koyasan ทุกคนจึงมารวมอยู่ในรถคันเดียวกัน
รถไฟวิ่งขึ้นเขาสูงชันต่อมาอีกประมาณ ครึ่งชั่วโมง สองข้างทางเต็มไปด้วยป่าสนและป่าไผ่ มีหมู่บ้านเล็กๆแทรกอยู่ตามสันเขา แม่น้ำที่วิ่งขนานมากับทางรถไฟตลอดทางเริ่มเล็กลง และหายไปในป่าสน ในที่สุดเราก็มาถึงสถานี Gokurakubashi รถไฟดับเครื่องหยุดสนิทที่สถานีเล็กๆแห่งนี้ ความ ที่เราคุ้นกับชื่อสถานีนี้แล้ว จึงไม่แปลกใจ และรู้ว่าเราต้องลงจากรถไฟเพื่อไปต่อรถเคเบิ้ลคาร์ ไต่ภูเขาขึ้นไปอีกทอดหนึ่ง เรื่องการจัดเวลาการเดินรถของที่นี่ต้องขอชมว่าจัดได้มีระบบดีมากทั้งประเทศ เพราะทุกจุดจะระบุเวลาที่แน่นอนไว้ โอกาสผิดพลาดน้อยมาก โดยจะเห็นว่าทันทีที่เราลงจากรถไฟ และเดินไปอีกด้านของสถานีก็เห็นรถเคเบิ้ลคาร์กำลังเข้าสู่ชานชลาเพื่อรับเรา ตรงเวลาพอดี ช่างคำนวนเวลาได้ยอดเยี่ยมมาก
จากการจัดระบบของเขา ทำให้การเดินทางของเราแทบไม่เสียเวลาเลย เราเลือกที่นั่งท้ายสุดบนรถเคเบิ้ลคาร์
เพราะต้องการถ่ายรูปด้านล่างภูเขา ซึ่งก็นับว่าเป็นการเลือกที่ถูกต้อง เพราะเมื่อรถเริ่มไต่หน้าผาสูงขึ้นไป
ตัวของเราก็แทบจะลุกจากที่นั่งไม่ได้ เพราะหัวรถเงยหน้าขึ้นมากกว่า 45 องศา จนแทบจะมองวิวด้านหน้ารถไม่เห็น ฝรั่งนั่งข้างๆพึมพำออกมาว่า
“ นี่เรากำลังขึ้นรถ หรือขึ้นลิฟท์ กันแน่” นับเป็นการนั่งเคเบิ้ลคาร์ที่สูงชัน
และหวาดเสียวที่สุดในชีวิต แต่กลับส่งผลดีต่อการถ่ายรูปย้อนลงมาด้านล่าง ที่ทำให้เราได้มุมที่แปลกออกไป
แต่ก็มือสั่นด้วยความกลัวจนทำให้รูปเสียไปหลายรูป เหมือนกัน
บนยอดเขา Koyasan นี้ มีวัดมากกว่า 100 วัด ตั้งกระจัดกระจายไปตามยอดเขา
และมีวัดที่เปิดให้ผู้คนเข้าพัก มากถึง 50 วัด คนญี่ปุ่นเรียกการมาพักวัดนี้ว่า
Shukobu ที่มีวัดเปิดให้บริการมาก ก็เพื่อรองรับนักแสวงบุญที่มักจะเดินทางมากราบไหว้พระสำคัญบนยอดเขานี้
ความที่มีวัดตั้งอยู่มาก ถนนจึงตัดมุ่งสู่วัดเหล่านั้นเป็นส่วนใหญ่
เราได้รับแผนที่ตั้งวัด และสถานที่ท่องเที่ยวของเมืองนี้บนรถ
จึงรู้ว่าเราจะต้องลงจากรถบัสที่ป้ายไหน สังเกตุดูว่าป้ายรถบัสมักจะอยู่ตามหน้าวัด
นักท่องเที่ยวฝรั่งคู่ที่เดินทางมาพร้อมกับเรา มาถึงวัดที่เขาเลือกก่อนเรา เมื่อรถจอดที่ป้ายหน้าวัด จะมีพระออกมายืนรอรับนักท่องเที่ยวคู่นั้น
ดูแล้วน่าชื่นชมในบริการของเขามาก และเมื่อถึงป้ายที่เราต้องลง คือป้ายหน้าวัด Ichijo-in เราก็พบกับหลวงพี่ ( เอ..อายุอย่างเรานี่น่าจะเรียกท่านว่า หลวงหลาน มากกว่านะ)
มายืนรอรับเราที่ป้ายรถเช่นกัน ช่างเป็นบรรยากาศการต้อนรับที่อบอุ่น อย่างที่โรงแรมทั่วไปยากที่จะสร้างอารมณ์ได้ขนาดนี้ คิดอีกทีก็คล้ายกับเด็กนักเรียนกำลังเดินทางเข้าโรงเรียนประจำ
แล้วมีครูออกมารับนั่นแหละ ( แต่เป็นโรงเรียนที่อยากไปอยู่นะ )
ทันทีที่ลงจากรถ สิ่งที่เรามองเห็นอย่างทึ่งมากเป็นสิ่งแรกคือ
ประตูเข้าวัด ที่สูงใหญ่และสง่างามปนความขลังด้วยริ้วรอยของกาลเวลา สำหรับเราแล้ว
ดูเหมือนว่าบนยอดเขา Koyasan
อะไรๆก็ล้วนตื่นตาตื่นใจไปเสียหมด คิดไม่ผิดแล้วที่ตัดสินใจเลือกเมืองนี้
หลวงพี่ ( ขอเรียกตามหลาน) พาเรามาถึงหน้าอาคารหลักซึ่งเป็นอาคารไม้ชั้นเดียว แต่กว้างใหญ่และเก่ามาก เราต้องถอดรองเท้าไว้ที่หน้าอาคารนี้ การเดินบนอาคารต่อจากนี้ไปเราต้องใช้รองเท้าสลิปเปอร์ สำหรับเดินในบ้านเท่านั้น ก่อนจะเข้าสู่ตัวอาคาร หลวงพี่ก็นำผงกำยานหอมๆมาโรยใส่ในผ่ามือของเราทุกคน และบอกให้เราใช้มือทั้งสองข้างถูผงกำยานนั้น แล้วลูบศรีษะของเรา เพื่อความโชคดี หรืออีกทีก็คล้ายกับว่าเป็นการขับไล่สิ่งไม่ดีในตัวเราที่ติดมาจากข้างนอก ไม่ให้เข้ามาในเมืองนี้ ผลที่เกิดจากกำยานจะจริงหรือไม่ ไม่สามารถยืนยันได้ แต่ที่ชอบคือกลิ่นของกำยานหอมติดตัวอยู่พักใหญ่ ซึ่งโชคดีที่เป็นกลิ่นที่ชอบเลย ยิ่งช่วยสร้างบรรยากาศให้ดีขึ้น
Shingon ( ซึ่งเป็นสายหนึ่งในหลายๆสายของศาสนาพุทธในญี่ปุ่น ) สวมชุดเป็นกางเกงและเสื้อคลุมสีเขียวขี้ม้าเข้ม
โกนศีรษะ แต่ไม่โกนคิ้ว กริยามารยาทสุภาพ นอบน้อมยิ่งนัก (เห็นแล้วนึกถึง
“ อิกคิวซัง”ขึ้นมาทันที) ที่น่าชื่นชมคือ
พระลูกวัดที่นี่ซึ่งส่วนใหญ่มีอายุไม่มาก สามารถพูดภาษาอังกฤษได้มากกว่าชาวบ้านทั่วไปที่เราผ่านมา
เราจึงไม่มีปัญหาเรื่องการสื่อสารเลย
พระรุ่นใหม่ๆที่นี่มีหลายรูปมาก แต่ละรูปอายุยังน้อย ดูเหมือนว่าหากเด็กคนไหนอยากจะเรียนเป็นพระ
ก็สามารถมาบวชเรียนที่วัดได้เลย โดยถือเสมือนว่าได้เรียนในโรงเรียน การแต่งตัวของเด็กเล็กที่ยังไม่เป็นพระ
เขาแต่งคล้ายนักเรียนทั่วไป แต่ใส่เสื้อแจ๊คเก็ตคล้ายเสื้อกิโมโนครึ่งตัว สิ่งที่สังเกตุได้ง่ายคือ
เด็กเหล่านี้จะโกนศรีษะ และมีกริยามารยาทเรียบร้อย มีวินัยเป็นอย่างยิ่ง พวกเขาศึกษาทุกเรื่องทั้งเรื่องศาสนา
และเรื่องเทคโนโลยีสมัยใหม่ไปพร้อมกันด้วย
เราเดินจากหน้าอาคารไปตามทางเดิน ที่ค่อนข้างวกวน และไกลกว่าที่คิด เส้นทางเดินในอาคารเป็นพื้นไม้ที่ถูกเช็ดถูจนสะอาดแทบลื่นโดยบรรดาพระและเณรในวัดนี้ คำนวนจากระยะทางทั้งหมดที่เราเดิน อยู่บนทางเดินในอาคารเดียวกันนี้ สามารถวัดความกว้างใหญ่ของอาคารได้ว่ากว้างใหญ่เอาการทีเดียว
ขณะเดินไปตามทาง หลวงพี่ก็จะชี้ให้ดูจุดต่างๆภายในอาคารว่า จุดไหนคืออะไร เพราะเราจะต้องใช้จุดเหล่านั้นในการทำกิจกรรมระหว่างที่เราพักอยู่ที่นี่ ขณะผ่านทางเดินจุดหนึ่งเราเห็นเทอร์โมมิเตอร์แขวนไว้ที่ข้างฝา เมื่อแวะเข้าไปดู ขณะนั้นเวลาบ่าย 2 โมง อุณหภูมิอยู่ที่ 10 องศา
ขณะเดินผ่านห้องๆหนึ่ง หลวงพี่ชี้ให้ดู บอกว่า
“ห้องนี้จะเป็นห้องรับประทานอาหารค่ำคืนนี้ และ อาหารเช้าพรุ่งนี้เช้า ของท่านนะขอรับ” ( ใช้คำว่า Sir ตามหลังทุกประโยค)
เมื่อถึงทางแยกซ้ายมือ มีทางเชื่อมไปอีกอาคารหนึ่ง หลวงพี่ก็บอกว่า
“ นี่คือทางไปยังห้องสวดมนต์ใหญ่ ( ใช้คำว่า Main Hall น่าจะเป็นอุโบสถ แต่สร้างเป็นอาคารทรงญี่ปุ่นหลังใหญ่ พื้นปูด้วยเสื่อตาตามิ) พิธีสวดมนต์มี 1 ครั้งคือ ช่วงเช้าเวลา 6.30 น. โปรดมาให้ตรงเวลาด้วยขอรับ ”
ใกล้ๆห้องรับประทานอาหารของกลุ่มเรา ( รับประทานกลุ่มละห้อง ไม่ปนกัน) เป็นห้องโถงใหญ่เท่ากับห้องทานอาหารสองห้องรวมกัน หลวงพี่บอกว่านี่คือ ห้องสนทนาธรรม หากพวกเราอยากจะมาร่วมสนทนากับผู้ที่มาพักกลุ่มอื่น ก็ให้มาร่วมได้ในเวลาหลังอาหารเย็น คือประมาณ 2 ทุ่มขึ้นไป กิจกรรมนี้จะมีทั้งพระผู้ใหญ่ และ พระรองๆลงมา เหมือนเป็นการเทศ และสอนพระธรรม รวมทั้งแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกัน กิจกรรมนี้ดูว่าจะได้รับความชื่นชอบจากคนตะวันตกมาก อาจเป็นเพราะฝรั่งมีความเครียดสูง การพยายามตามหาความสงบของจิตใจ จึงเป็นสิ่งสำคัญสำหรับเขา
และแล้วเราก็เดินมาถึงห้องพักของเรา
ที่ดูเหมือนจะอยู่ด้านหลังสุดของอาคาร ตลอดทางเดินหน้าห้องพักมีกระจกใสกันอากาศหนาวเข้ามาในห้อง
ความใสของกระจกทำให้เราเห็นสวนญี่ปุ่น และปลาคราฟท์ที่กำลังว่ายน้ำในสระได้อย่างชัดเจน
รอบบริเวณไม่มีเสียงใดเลย นอกจากเสียงนกร้องจิ๊บ จิ๊บ
ประตูห้องพัก ทำด้วยกระดาษ กรอบประตูดูบอบบางมาก เวลาเลื่อนเปิด จึงต้องระวังเพราะกลัวว่าจะทำประตูของเขาพัง ห้องข้างๆมีแขกอื่นพักอยู่ แล้ว ที่รู้ก็เพราะเห็นรองเท้าSlipper วางไว้หน้าประตู ภายในห้องของเราแบ่งเป็นสองชั้น ชั้นแรกเป็นที่แต่งตัว และเก็บของ ซึ่งก็ไม่มีอะไรตกแต่งมากนัก มีแค่ไม้แขวนเสื้อแบบตั้งพื้น และกระจกบานเล็กแบบตั้งพื้นไว้ให้ พร้อมกับเสื้อยูกาตะ สำหรับใส่นอนเท่านั้น
วัดนี้ถือหลักของเซ็น คือเรียบง่าย การตกแต่งห้องพักจึงแทบไม่มีอะไรมากมายเกินความจำเป็น
ในห้องพักก็เหมือนกับบ้านพักแบบญี่ปุ่นทั่วไป คือมีโต๊ะเตี้ยกลางห้อง 1 ตัว เบาะรองนั่ง 2 อัน และ ชุดน้ำชา 1ชุด พร้อมขนมหวาน 2 อัน เป็นการต้อนรับผู้มาพัก ที่แปลกกว่าที่พักอื่นคือ
โต๊ะกลางห้องปูด้วยผ้านวมหนามาก มีสายไฟโผล่ออกมาจากผ้านวมนั้น เวลานั่งเราต้องสอดขาเข้าไปใต้ผ้านวม
ที่มีการปรับอุณภูมิให้อุ่น ดูๆแล้วเหมือนเป็นโต๊ะไฟฟ้า เราแอบเปิดผ้านวมขึ้นสำรวจสายไฟ
และเครื่องทำความร้อนที่ติดอยู่ใต้โต๊ะ แอบคิดนอกกรอบขึ้นมาว่า หากไฟฟ้าช๊อตขึ้นมาคงสนุกไปอีกแบบ
ห้องพักในวัดนี้สร้างแบบไร้ความลับ คือหากคิดจะทำอะไรที่มีลับลมคมนัย คงหมดสิทธิ์ เพราะฝาห้องทำด้วยกระดาษที่ทำจากฟางแม้จะหนากว่ากระดาษทั่วไป แต่ก็กันได้แต่ความเย็นของอากาศเท่านั้น หากไปยืนพิงแรงๆ มีหวังว่าฝาห้องคงทะลุ ที่รู้เพราะเราสามารถได้ยินเสียงจากข้างห้องได้สบายๆ แสดงว่าผู้ที่มาพักวัดทุกคน ต้องทำใจให้อยู่ในรสพระธรรม และตั้งใจมาแสวงหาความสงบอย่างแท้จริง จึงไม่มีปัญหากับที่พัก ไม่ว่าจะมีสภาพอย่างไรก็รับได้ แต่สำหรับพวกเรา ผู้ซึ่งเป็นเพียงนักท่องเที่ยวที่อยากรู้อยากเห็น มิได้ตั้งใจจะมาเพื่อศึกษาพระธรรม ( เท่าใดนัก) แม้จะอยากพบความสงบ แต่ดูเหมือนว่าห้องเราจะบอบบางเกินไปจนเกรงว่าเราจะไปรบกวนผู้อื่นโดยไม่ได้ตั้งใจ ดังนั้น ไม่ว่าเราจะทำอะไรจึงต้องระวังไปหมด กลัวข้างห้องรำคาญ
ห้องพักในวัดนี้สร้างแบบไร้ความลับ คือหากคิดจะทำอะไรที่มีลับลมคมนัย คงหมดสิทธิ์ เพราะฝาห้องทำด้วยกระดาษที่ทำจากฟางแม้จะหนากว่ากระดาษทั่วไป แต่ก็กันได้แต่ความเย็นของอากาศเท่านั้น หากไปยืนพิงแรงๆ มีหวังว่าฝาห้องคงทะลุ ที่รู้เพราะเราสามารถได้ยินเสียงจากข้างห้องได้สบายๆ แสดงว่าผู้ที่มาพักวัดทุกคน ต้องทำใจให้อยู่ในรสพระธรรม และตั้งใจมาแสวงหาความสงบอย่างแท้จริง จึงไม่มีปัญหากับที่พัก ไม่ว่าจะมีสภาพอย่างไรก็รับได้ แต่สำหรับพวกเรา ผู้ซึ่งเป็นเพียงนักท่องเที่ยวที่อยากรู้อยากเห็น มิได้ตั้งใจจะมาเพื่อศึกษาพระธรรม ( เท่าใดนัก) แม้จะอยากพบความสงบ แต่ดูเหมือนว่าห้องเราจะบอบบางเกินไปจนเกรงว่าเราจะไปรบกวนผู้อื่นโดยไม่ได้ตั้งใจ ดังนั้น ไม่ว่าเราจะทำอะไรจึงต้องระวังไปหมด กลัวข้างห้องรำคาญ
หลังจากเก็บสมบัติที่ติดตัวมาน้อยนิดไว้ในห้องแล้ว
เราก็รีบออกจากวัดเพื่อไปสำรวจเมืองนี้กันอย่างเร่งด่วนก่อนที่แสงอาทิตย์จะหมดไป เมือง Koyasan นี้มีชื่อเสียงมากในเรื่องของวัดเก่าที่สร้างมากว่า 1,800 ปี ผู้ที่ขึ้นมาเริ่มก่อร่างสร้างวัดคือท่าน Kobo Daishi ผู้เป็นพระผู้นำในศาสนาพุทธที่มีชื่อเสียงมากของประเทศญี่ปุ่น เพราะท่านเป็นผู้ที่เดินทางไปนำเอาคำสอนของพระพุทธเจ้า
และพระไตรปิฎก มาจากประเทศจีน เพื่อมาเผยแพร่ให้คนญี่ปุ่นนับถือ จนกลายเป็นศาสนาประจำชาติของญี่ปุ่นจนถึงปัจจุบัน
คนญี่ปุ่นจะเรียกท่านด้วยชื่อสั้นๆว่า Kukai
ท่าน Kukai ได้เดินทางมายังยอดเขานี้เพื่อสร้างวัด และศาสนสถานหลายแห่ง เพื่อให้เป็นศูนย์กลางของศาสนาพุทธ สาย Shingon นอกจากจะมีความรู้ด้านศาสนาแล้ว ท่านยังมีความสามารถเป็นพิเศษในด้านอักษรศาสตร์ และศิลปะ หลายแขนง หนึ่งในนั้นคือการประดิษฐ์ตัวอักษร Kanji (คันจิ) ที่ชาวญี่ปุ่นใช้เขียนกันในปัจจุบัน วัดที่ท่านสร้างคือวัด Kongobuji สร้างในปี 805 เป็นวัดเก่าแก่ที่มีชื่อเสียงด้านความงดงามของศิลปะในการก่อสร้างและตกแต่ง หลายแขนง โดยเฉพาะภาพวาดบนประตูเลื่อนภายในวัดที่วาดโดยศิษย์ด้านงานศิลปะของท่าน Kukai
นอกจากวัด Kongobuji แล้ว ท่าKukai ยังได้สร้าง Garan ให้เป็นศูนย์กลางการปฏิบัติธรรมทางศาสนา
ในบริเวณ Garan ประกอบด้วย Kondo ( ศาลาการเปรียญ)
Daito ( หอระฆัง หรือ หอสูง) Saito ( เจดีย์รูปแบบจากอินเดีย
หรือที่เรียกว่า Stupa ) เจดีย์ภายในวัดนี้มีความแตกต่างจากวัดทั่วไปในญี่ปุ่น
ตรงที่สร้างด้วยสถาปัตยกรรมของอินเดีย เป็นส่วนใหญ่ ในขณะที่วัดทั่วไปจะสร้างแบบญี่ปุ่นคือเป็นเจดีย์
5 ชั้นหลังคาทรงเก๋งจีน ที่เราเห็นทั่วไป ที่วัดนี้ในอุโบสถจะมีการจุดตะเกียงกว่าพันดวงเพื่อบูชาพระรัตนะไตร
เล่ากันว่า นับตั้งแต่จุดไฟ ตะเกียงเหล่านี้ไม่เคยดับมากว่าพันปี
ในปี 835 ช่วงสุดท้ายของท่าน Kukai ท่านได้สั่งให้ลูกศิษย์นำร่างของท่านซึ่งอยู่ในลักษณะนั่งสมาธิ ไปไว้ในถ้ำแห่งหนึ่งกลางป่าไม้ใหญ่ บนยอดเขาที่ชื่อ Okunoin ( 1ใน8ของยอดเขาของเมืองKoyosan ) เชื่อกันว่าท่านKukai ยังไม่ตาย เพียงแต่อยู่ในสถานะเข้าสู่การทำสมาธิขั้นสูงสุดที่เรียกว่า “ มหาสมาธิ " Mahasamadhi เพื่อรอวันมาถึงของพระพุทธเจ้าพระองค์ใหม่ ตามความเชื่อในพุทธศาสนาว่าพระองค์จะมาโปรดชาวโลกอีกครั้ง
ความเชื่อเรื่องท่าน Kukai นี้มีมาตลอดตั้งแต่วันที่ท่านเข้าสู่สมาธิ และยิ่งเป็นการยืนยัน ในอีก 50 ปีต่อจากวันนั้น เมื่อสมเด็จพระจักรพรรดิ Daiko ได้ฝันเห็นท่าน Kikai จึงได้เดินทางมายังเขา Okunoin และพบว่าภายในถ้ำปกคลุมไปด้วยหมอก เมื่อสมเด็จพระจักรพรรดิ แตะที่เข่าของท่านKukai พบว่าร่างของท่านยังคงอุ่นเหมือนคนมีชีวิต อีกทั้งยังมีกลิ่นหอมติดมือของสมเด็จพระจักรพรรดิอีกด้วย
ในปี 835 ช่วงสุดท้ายของท่าน Kukai ท่านได้สั่งให้ลูกศิษย์นำร่างของท่านซึ่งอยู่ในลักษณะนั่งสมาธิ ไปไว้ในถ้ำแห่งหนึ่งกลางป่าไม้ใหญ่ บนยอดเขาที่ชื่อ Okunoin ( 1ใน8ของยอดเขาของเมืองKoyosan ) เชื่อกันว่าท่านKukai ยังไม่ตาย เพียงแต่อยู่ในสถานะเข้าสู่การทำสมาธิขั้นสูงสุดที่เรียกว่า “ มหาสมาธิ " Mahasamadhi เพื่อรอวันมาถึงของพระพุทธเจ้าพระองค์ใหม่ ตามความเชื่อในพุทธศาสนาว่าพระองค์จะมาโปรดชาวโลกอีกครั้ง
ความเชื่อเรื่องท่าน Kukai นี้มีมาตลอดตั้งแต่วันที่ท่านเข้าสู่สมาธิ และยิ่งเป็นการยืนยัน ในอีก 50 ปีต่อจากวันนั้น เมื่อสมเด็จพระจักรพรรดิ Daiko ได้ฝันเห็นท่าน Kikai จึงได้เดินทางมายังเขา Okunoin และพบว่าภายในถ้ำปกคลุมไปด้วยหมอก เมื่อสมเด็จพระจักรพรรดิ แตะที่เข่าของท่านKukai พบว่าร่างของท่านยังคงอุ่นเหมือนคนมีชีวิต อีกทั้งยังมีกลิ่นหอมติดมือของสมเด็จพระจักรพรรดิอีกด้วย
เพื่อป้องกันมิให้ผู้คน
และมิจฉาชีพเข้าไปรบกวนท่าน จึงได้มีการสร้างกำแพงปิดปากถ้ำไว้จนถึงปัจจุบัน หากแต่นับจากนั้นมา
พระภิกษุบนเขาก็ยังคงนำอาหารไปถวายท่านที่หน้าปากถ้ำ วันละ 2 เวลาเป็นประจำต่อเนื่องมานานนับพันปี โดยเชื่อว่าท่านKukai ยังคงสอนผู้คนจากภายในถ้ำแห่งนั้นด้วยกระแสจิตที่ทำสมาธินั่นเอง
จากการที่เขา Okunoin เป็นที่ตั้งของถ้ำที่ท่านKukai นั่งทำสมาธิอยู่นี้ จึงทำให้ผู้คนชาวญี่ปุ่นให้ความสำคัญ และมาเที่ยวชมกันมาก บรรดาสมาชิกในราชวงค์ โชกุน ขุนนาง ซามูไร และคนที่มีชื่อเสียงในยุคต่างๆ พยายามที่จะได้ฝังกระดูกของตนเองไว้เคียงข้าง หรือให้ใกล้กับถ้ำของท่าน หรือแค่ได้อยู่ในสุสานนี้ก็เพียงพอแล้ว ดังนั้นสุสานนี้จึงเต็มไปด้วยเจดีย์ที่เก็บกระดูกมากกว่า 200,000 เจดีย์ ถือเป็นสุสานในพุทธศาสนาที่ใหญ่ที่สุดในญี่ปุ่น
จากการที่เขา Okunoin เป็นที่ตั้งของถ้ำที่ท่านKukai นั่งทำสมาธิอยู่นี้ จึงทำให้ผู้คนชาวญี่ปุ่นให้ความสำคัญ และมาเที่ยวชมกันมาก บรรดาสมาชิกในราชวงค์ โชกุน ขุนนาง ซามูไร และคนที่มีชื่อเสียงในยุคต่างๆ พยายามที่จะได้ฝังกระดูกของตนเองไว้เคียงข้าง หรือให้ใกล้กับถ้ำของท่าน หรือแค่ได้อยู่ในสุสานนี้ก็เพียงพอแล้ว ดังนั้นสุสานนี้จึงเต็มไปด้วยเจดีย์ที่เก็บกระดูกมากกว่า 200,000 เจดีย์ ถือเป็นสุสานในพุทธศาสนาที่ใหญ่ที่สุดในญี่ปุ่น
ปัจจุบันผู้คนชาวบ้านทั่วไปจะหาโอกาสนำเอากระดูกของบรรพบุรุษมาเก็บ
ไว้ในบริเวณนี้ยากขึ้น เนื่องจากพื้นที่น้อยลง แม้จะเก็บแค่กระดูกชิ้นเล็กๆชิ้นเดียวก็มีค่าใช้จ่ายสูงมาก
จะมีเพียงคนกลุ่มร่ำรวยระดับเจ้าของกิจการใหญ่ๆเท่านั้นที่มาสร้างเจดีย์ของตนเองได้
เช่น เจ้าของบริษัทชาร์ป โตโยต้า เนชั่นแนล พานาโซนิค โดยบางเจ้าสร้างเจดีย์ให้มีรูปร่างต่างจากตามประเพณีดั้งเดิม
เช่นสร้างเป็นรูปจรวด หรือรถยนต์ ก็มี
หากคิดว่าเจดีย์แปลกๆเหล่านี้จะช่วยสร้างสีสันให้
Okunoin เพื่อชวนให้คนมาเที่ยวแล้วละก็ ดิฉันไม่เห็นด้วยเลย กลับจะดูว่าเป็นการรบกวนบรรยากาศของสุสานศักดิ์สิทธิ์แห่งนี้มากกว่า
เพราะเมื่อเข้ามาในเขตสุสานที่ตั้งอยู่ภายในเขตป่าไม้ใหญ่หนาทึบ ที่มีเพียงแสงอาทิตย์ไม่มากนักส่องลงมาถึงพื้นดิน
ก็จะพบกับความสงบปนลึกลับ เหมือนคนละโลก และคงเป็นเพราะความสงบเช่นนี้เองที่ท่าน Kukai
เลือกสถานที่นี้เป็นที่อยู่ครั้งสุดท้าย แต่ปัจจุบันกลับหนาแน่นไปด้วยเจดีย์
โดยเฉพาะรูปร่างแปลกๆ หากท่านตื่นมาจากสมาธิท่านคงผิดหวังและคงจำสถานที่นี้ไม่ได้แน่นอน
จากการที่เป็นสุสานที่ใหญ่ที่สุดของประเทศนี่เอง จึงทำให้มีนักแสวงบุญ ญาติของผู้ที่เก็บกระดูกไว้ที่นี่ และนักทองเที่ยวเดินทางมาไม่ขาดสาย การเดินเที่ยวในสุสานจึงเป็นสิ่งดึงดูดใจ และเป็นเสน่ห์ของที่นี่ไปอีกแบบ เรียกว่าเป็นจุดขายก็ว่าได้ การเดินในสุสาน มีการเดินทั้งแบบกลางวัน และกลางคืน นัยว่าเป็นการไปทำสมาธิในป่าช้านั่นแหละ หลายคนอาจกลัวหากต้องไปเดินในสุสาน แต่ความจริงแล้วสุสานนี้ไม่น่ากลัว ( เท่าใดนัก) ) ผู้คนจึงไปเดินเที่ยวกันมาก นักท่องเที่ยวให้นิยามเมืองนี้ว่า The Mystique Koyasan ( โคยาซาน เมืองลึกลับ)
เราเริ่มต้นการเที่ยวด้วยการเดินไปตามถนนสายหลักของเมือง เพื่อไปยังวัดต่างๆ
เมืองนี้มีสี่แยกอยู่แห่งเดียว ร้านค้ามีไม่มาก นานๆจะมีรถยนต์วิ่งผ่านมาตามถนน
อากาศบนยอดเขาหนาวเย็นลงเรื่อยๆ ความสูงของภูเขาทำให้อุณหภูมิในเมืองนี้อุ่นช้ากว่าในพื้นที่เชิงเขา
ซึ่งก็เป็นผลดีต่อเราตรงที่ อากาศระดับนี้เป็นอุณหภูมิที่ดอกซากุระ บนเมือง Koyasan
เพิ่งจะบาน ในขณะที่ต้นซากุระในเมืองต่างๆของญี่ปุ่นร่วงโรยไปเกือบหมดด้วยความร้อนของอุณหภูมิ นับว่าไม่เสียแรงที่ดั้นด้นขึ้นมา แค่ได้เห็นดอกซากุระ ก็คุ้มค่าแล้ว
เราเดินผ่านหอระฆังที่มีชื่อว่า
“ ระฆัง 6 โมง” ( Rokuji ni Kane - The 6
o’clock Bell) ไปยังวัด Kongobuji และ วัด Garan
ซึ่งตั้งอยู่ไม่ไกลกัน ความที่มีเวลาน้อยจึงไม่สามารถสำรวจได้ละเอียดนัก
แค่ให้เห็นว่าของจริงเป็นอย่างไรก็แทบจะหมดเวลาแล้ว แต่ทั้งหมดที่ไปได้ล้วนเป็นสถานที่ที่มีชื่อเสียงระดับต้นๆ
ของเมืองนี้ วันนั้นเราไม่ได้ไป สุสาน Okunoin เพราะท้องฟ้าเริ่มหม่นลง และดวงอาทิตย์ลับยอดเขาไปแล้ว มองเข้าไปตามเส้นทางเข้าในสุสาน เห็นแต่ต้นไม้ใหญ่ยืนทะมึนอยู่เต็มสองข้างทางที่ยาวประมาณ 2 กิโลเมตร ประกอบกับวันนี้ไม่ใช่วันหยุด เวลานี้จึงไม่มีผู้คนขึ้นมาเที่ยวในสุสานเลยสักคน พวกเราลงมติอย่างเป็นเอกฉันท์ว่าไม่น่า บอกตรงๆว่าใจไม่ถึง ทุกคนจึงหันหลังกลับโดยพร้อมเพรียง
ขณะเดินมาตามทาง เราได้ยินเสียงระฆังดังมาจากหอระฆังในเมือง แสดงว่าขณะนี้เป็นเวลา 6 โมงเย็นแล้ว คำพูดของหลวงพี่แว่วมาแต่ไกลว่า
“ อาหารค่ำจะเสริฟเวลา 1 ทุ่มตรง ขอให้มาให้ทันด้วยนะขอรับ และหากท่านเที่ยวอยู่ข้างนอก โปรดกลับมาก่อนสองทุ่ม เพราะประตูวัดจะปิด 2 ทุ่มตรงขอรับ”
ความที่เราเที่ยวเพลินไปหน่อย จึงต้องรีบเดินกลับที่พักซึ่งมีระยะทางไกลพอประมาณ กลัวว่าจะไปไม่ทันอาหารเย็น ที่ต้องกลัวก็เพราะช่วงที่ผ่านตัวเมืองมานั้น เราไม่เห็นร้านอาหารเปิดให้บริการเลย มีเพียงร้านเล็กๆที่ทำท่าเหมือนจะปิดแล้ว แถมซุปเปอร์มาร์เก็ตก็ไม่มี มีแต่ร้านขนมพื้นเมืองขายนักท่องเที่ยว ขืนทำตัวเหลวไหลมีหวังอดตายแน่ แถมอากาศหนาวสะบัดแบบนี้ คิดถึงแต่ผ้านวมที่โต๊ะไฟฟ้าในห้อง อยากกลับไปนั่งจิบน้ำชาร้อนๆให้อุ่นสบาย ไฟช๊อตไม่กลัวแล้ว
“ อาหารเย็นพร้อมแล้วขอรับ”
พูดถึงเรื่องอาหาร
ก่อนที่เราจะตัดสินใจมานอนวัดครั้งนี้ เรารู้แล้วว่าเราจะต้องรับประทานอาหารเจทุกมื้อตลอดเวลาที่อยู่ที่นี่
เพราะทุกวัดในพุทธศาสนาพระจะฉันอาหารเจ
เมื่อเรามานอนค้างวัดจึงต้องทานเจไปด้วย ศิลปะการจัดอาหารของทางวัดนับเป็นต้นแบบของการจัดอาหารชุดดั้งเดิมของ
ญี่ปุ่นที่เรียกว่า Kaiseki Ryori แต่อาหารในวัดเราเรียกว่า
Shojin Ryori
Shojin Ryori เป็นอาหารที่ใช้ศิลปะในการคัดเลือกวัตถุดิบ และจัดปรุง ตกแต่งอย่างงดงาม วัตถุดิบต้องมาจากธรรมชาติเป็นส่วนใหญ่
ไม่พยายามใช้สารเคมีใดๆ ที่เมือง Koyasan นี้
อาหารที่มีชื่อของที่นี่คือเต้าหู้ เรียกว่า Koya-dofu เป็นเต้าหู้ที่ทำมาจากงาขาว
ด้วยกรรมวิธีทางธรรมชาติ คนปรุงอาหารบอกว่าขณะทำเต้าหู้ต้องมีพระมาสวดอวยพรหน้าเครื่องทำด้วย
ไข่ตุ๋น(ปลอม) ทำจากเต้าหู้
ด้วยเหตุนี้กระมังจึงทำให้เต้าหู้อร่อยนักหนา เต้าหู้ชนิดนี้จะถูกเสริฟมาทั้งแบบเย็น
และ แบบร้อนคืออยู่ในซุป ส่วนอาหารชนิดอื่นหน้าตาคล้ายกับอาหารญี่ปุ่นแบบ Kaiseki
Ryori ที่ต้องประกอบด้วยอาหาร 5 ชนิด คือ ของสด
(ซาชิมิ) ซุป ของทอด ของต้ม และ ของนึ่ง เพียงแต่ใช้ผัก
และถั่วทำให้เหมือนเนื้อสัตว์ เช่น ใช้สาหร่ายมาทำเป็นซูชิ และ ซาชิมิ ส่วนของหวานก็ใช้เต้าหู้อะไรสักอย่างทำเป็นมูสช๊อกโกแลต
เสริฟมากับสตอร์เบอร์รี่ รสชาติขอไม่วิจารณ์นะ (ก็ทำใจมาแล้วนี่)สรุปคืออาหารทุกชนิดทำมาจากเต้าหู้ ยกเว้นสาหร่าย กับถั่วดำ
สิ่งที่ทำให้น่ารื่นรมย์ของอาหารทุกมื้อคือ
พลวงพี่ ที่เปลี่ยนกันมาดูแลพวกเราขณะรับประทานอาหาร ซึ่งจะเปลี่ยนกันมาคนละมื้อ (
คงเป็นเวรดูแลกันตามเวลา ) ทุกคนดูแลเอาใจใส่ดีมาก กริยาสุภาพ และพยายามเชิญชวนให้เราทาน
แต่เรากลับอยากให้หลวงพี่ออกไปจากห้องทานอาหารมากกว่า เพราะเวลาทานอาหารแบบญี่ปุ่นเขาต้องมีมารยาทอย่างมาก
การจัดโต๊ะชุดอาหารหากจัดแบบใด
ทุกชุดต้องจัดเหมือนกันหมด ห้ามวางต่างกันแม้สักนิ้วเดียว ขณะนั่งทานเราต้องนั่งแบบญี่ปุ่นตัวตรง
เมื่อทานจานใดเสร็จก็ต้องวางจานนั้นลงบนจุดที่เขาตั้งไว้แบบเดิมให้เรียบร้อย ฝาถ้วยต้องปิดไว้ให้เหมือนเดิม
แต่ความที่เราเป็นคนที่กำลังหนีออกจากกรอบ จึงไม่สามารถทนทำตามกรอบได้นานเท่าใดนัก ดังนั้น ทันทีที่หลวงพี่ออกจากห้องไป เราทุกคนก็โล่งอก ปล่อยหัวเราะออกมาเพราะ ขำตัวเองที่สามารถทนอยู่ในระเบียบอย่างเคร่งครัดได้บ้างเหมือนกัน มีเพียงบางคน
( อิฉันเองล่ะเจ้าค่ะ พระคุณท่าน) ที่ถึงกับล้มตัวลงนอนบนเสื่อด้วยความผ่อนคลาย (
เหมือนครูไม่อยู่ หนูร่าเริง)
ในที่สุดอาหารเย็นของนักเรียนประจำ เอ๊ย
ของคณะเราก็ผ่านไปได้ด้วยดี แม้จานชามจะไม่เข้าที่อยู่กะร่องกะรอยเท่าใดนัก แต่หลวงพี่ก็มิได้เอ่ยปากว่าแต่อย่างใด
เอาแต่ยิ้มลูกเดียว ท่านคงนึกในใจว่า
“อายุโยมป้า ก็มากแล้ว...
เหตุไฉนจึงยังซนเป็นเด็กอีกหนอ ....อามิตะพุทธ ”
ก่อนเราจะกลับห้อง หลวงพี่ก็ย้ำอีกว่า
เดี๋ยวจะมีการสนทนาธรรมกันที่ห้องข้างๆ พวกเราจะมาร่วมก็เชิญมาให้ทันเวลา แต่พวกเราทุกคนต่างพร้อมใจกันปฏิเสธ
โดยบอกว่าเดินทางเหนื่อยมากขอพักผ่อนดีกว่า ท่านก็ได้แต่โค้งศีรษะแล้วเดินจากไป
ส่วนจะคิดอะไร นั้นไม่กล้าเดา
อาจเป็นการไม่ถูกต้องนักที่ไม่ไปสนทนาธรรม แต่หากคิดถึงประสบการณ์ช่วงสั้นๆที่มาพักวัดได้รู้แค่นี้ก็ดีเกินไปสำหรับเราแล้ว ต่อจากนี้เราก็จะไปอาบน้ำร้อนให้สบายตัว การไปอาบน้ำในเวลาที่คนอื่นกำลังสนทนาธรรมนี่ถือเป็นโอกาสดี เพราะจะได้แช่อยู่ในสระน้ำร้อนคนเดียว ไม่ต้องมีคนอื่นมาทำให้ต้องเขินอาย (หากทุกท่านได้อ่านเรื่อง อาบน้ำแบบญี่ปุ่นมาแล้วคงเข้าใจ หากยังไม่ได้อ่านโปรดกลับไปอ่านก่อน
อาจเป็นการไม่ถูกต้องนักที่ไม่ไปสนทนาธรรม แต่หากคิดถึงประสบการณ์ช่วงสั้นๆที่มาพักวัดได้รู้แค่นี้ก็ดีเกินไปสำหรับเราแล้ว ต่อจากนี้เราก็จะไปอาบน้ำร้อนให้สบายตัว การไปอาบน้ำในเวลาที่คนอื่นกำลังสนทนาธรรมนี่ถือเป็นโอกาสดี เพราะจะได้แช่อยู่ในสระน้ำร้อนคนเดียว ไม่ต้องมีคนอื่นมาทำให้ต้องเขินอาย (หากทุกท่านได้อ่านเรื่อง อาบน้ำแบบญี่ปุ่นมาแล้วคงเข้าใจ หากยังไม่ได้อ่านโปรดกลับไปอ่านก่อน
ก็อย่างที่บอกว่า ห้องพักที่นี่มีแต่ห้องนอนอย่างเดียว
ห้องสุขา และห้องอาบน้ำเป็นแบบห้องรวม ซึ่งอยู่นอกห้อง เรียกว่าคนละด้านกับห้องพักเลย
กลางคืนก่อนนอนจึงต้องเข้าห้องสุขาให้เรียบร้อยก่อน ขืนปวดกลางดึกคงไม่กล้าออกมาแน่
แม้ในวัดจะไม่มีป่าช้า แต่อย่าลืมว่าเมืองนี้เป็นเมืองที่มีป่าช้าใหญ่ที่สุดของประเทศ
ดังนั้นจึงอาจมีรัศมีปฏิบัติการกว้างไกลกว่าป่าช้าเล็กๆทั่วไป โอกาสที่จะถูกผีหลอกจึงสูงกว่าปกติ
หลายร้อยเปอร์เซ็นต์
ห้องอาบน้ำของที่นี่แยก
ชาย หญิง มีเพียงป้ายบอกหน้าห้องเท่านั้น ไม่มีประตูและกลอน ภายในห้องสะดวกสบายยิ่งกว่าโรงอาบน้ำสาธารณะที่เราเคยผ่านมาเสียอีก
อุปกรณ์ใหม่เอี่ยม เสื้อผ้าเปลี่ยนสะอาดหอมกรุ่น มีสระแช่น้ำร้อนกว้างใหญ่ ถึงสองสระภายในห้องที่กว้างราวกับโรงยิมนาสติค
บรรยากาศภายในห้องถูกปกคลุมไปด้วยไอน้ำ ดิฉันแช่ตัวอย่างมีความสุขอยู่ลำพัง
ดูเหมือนว่านี่จะเป็นจุดที่ดีที่สุดของวัดนี้เลยทีเดียว
เมื่อกลับมาถึงห้อง ก็ต้องแปลกใจ ( แม้จะรู้มาแล้วก็ตาม) ที่เห็นว่าห้องถูกปูด้วยที่นอน
มีผ้านวมหนานุ่ม เชิญชวนให้นอนเสียจริง คงเป็นพนักงาน หรือไม่ก็เณร
ที่มาปูที่นอนให้
ในที่สุดเราก็ซุกตัวลงใต้ผ้าห่ม แม้ในห้องจะมีฮีทเตอร์ แต่อากาศติดลบในช่วงกลางคืนแบบนี้
อยู่ใต้ผ้าห่มเป็นดีที่สุด ขณะตากำลังริบรี่ก็ได้ยินเสียงคนพึมพำคุยกัน
แว่วมาจากไหนสักแห่ง คิดว่าน่าจะเป็นเสียงคนข้างห้อง ขอให้เป็นเช่นนั้นเถอะ
อย่าเป็นเสียงอื่นเลย หลับล่ะ โอะยะ ซึมินะไซ…
Goodnight ..ราตรีสวัสดิ์เจ้าค่ะ
แสงสว่างอ่อนๆส่องผ่านผนังกระดาษเข้ามาในห้องนอน
นาฬิกาของเราบอกเวลาหกโมงเช้า ขณะลืมตาขึ้นมาท่ามกลางความเงียบสงบ มีเพียงเสียง
จิ๊บ จิ๊บ ของนกที่เกาะบนกิ่งไม้เท่านั้นที่ผ่านเข้ามาถึงเรา คงเป็นเพราะเหนื่อยกับการเดินทางมาทั้งวันกระมังที่ทำให้เรานอนกันแต่หัวค่ำ
จึงสามารถตื่นเช้าได้ขนาดนี้ หันไปมองเพื่อนข้างๆ ซึ่งก็ตื่นแล้วเหมือนกันแต่ยังนอนลืมตาฝันหวานอยู่
พร้อมบ่นว่าไม่อยากลุกขึ้นไปไหนเลย อยากนอนอยู่สบายๆอย่างนี้ แต่เรายังไม่ทันจะคิดอะไรต่อ ก็มีเสียงเคาะประตูดังขึ้น
พร้อมกับเสียงหลวงพี่คนดี บอกว่า
“ การสวดมนต์เช้ากำลังจะเริ่มแล้ว โปรดเตรียมตัวให้เรียบร้อยด้วยขอรับ”
เสียงหลวงพี่บอกให้เตรียมตัวสวดมนต์ หมายถึงว่าเขาบอกให้เราแต่งตัวให้เรียบร้อย เพราะในห้องสวดมนต์ ( Main Hall ) ไม่อนุญาตให้ใส่ชุดยูกาตะ ที่เราใส่นอนเข้าไป เรามองหน้ากันเชิงถามความเห็นว่าจะเอาอย่างไร ในที่สุดเราก็ยอมแพ้แก่ฝ่ายอธรรม ( จนได้ซิ) พร้อมกับนอนบิดขี้เกียจต่อไป เช้านั้นพระคุณท่านทั้งหลายจึงสวดมนต์โดยไม่มีเราอยู่ในห้องนั้นเลยสักคน
เสียงหลวงพี่บอกให้เตรียมตัวสวดมนต์ หมายถึงว่าเขาบอกให้เราแต่งตัวให้เรียบร้อย เพราะในห้องสวดมนต์ ( Main Hall ) ไม่อนุญาตให้ใส่ชุดยูกาตะ ที่เราใส่นอนเข้าไป เรามองหน้ากันเชิงถามความเห็นว่าจะเอาอย่างไร ในที่สุดเราก็ยอมแพ้แก่ฝ่ายอธรรม ( จนได้ซิ) พร้อมกับนอนบิดขี้เกียจต่อไป เช้านั้นพระคุณท่านทั้งหลายจึงสวดมนต์โดยไม่มีเราอยู่ในห้องนั้นเลยสักคน
เรายอมรับว่ายังไม่สามารถทำตัวให้เป็นคนดีของพระท่านได้ในวันนี้
เพราะแทนที่จะไปสวดมนต์ เรากลับเลือกที่จะไปแช่น้ำร้อนในสระน้ำของวัดอีกครั้งแทน
เมื่อกลับมาและแต่งตัวเสร็จ ก็เป็นเวลาของอาหารเช้าพอดี
ไม่นานก็ มีหลวงพี่
มาเคาะประตูตามเคย คราวนี้เปลี่ยนมาใหม่อีกคน แต่สุภาพตามแบบฉบับเดียวกัน
อาหารเช้าหน้าตาเดียวกับอาหารเย็นเมื่อวานนี้
เพียงแต่ปริมาณน้อยลงเท่านั้น สำหรับอิฉัน เช้าๆแบบนี้ไม่อยากรับประทานอาหารหนักจำพวกข้าวและกับข้าวแบบนี้เลย
สิ่งที่ทำได้คือแอบงัดเอาขนมปังที่ซื้อมาจากโอซาก้า
ที่ซุกไว้ในกระเป๋าเสื้อออกมาทานกับน้ำชาแทน ( ที่จริงโหยหากาแฟดำเข้มๆ เป็นอย่างมาก
แต่ที่นี่ไม่มีบริการ) เป็นอันว่า รอดตายไปอย่างหวุดหวิดอีกหนึ่งมื้อ
ส่วนอาหารเช้าของอิฉัน ก็มีผู้ปรารถนาดีข้างๆ ช่วยกันรับประทานแทน เพราะกลัวทางวัดจะรู้ว่ามีคนไม่ยอมทาน
( บรรยากาศทำให้นึกถึงตอนอยู่โรงเรียนประจำสมัยเด็กยังไง ยังงั้นเลย )
บรรยากาศช่วงเช้าของที่นี่สวยงามมาก แสงแดดอ่อนๆส่องลงมาสะท้อนให้กลีบดอกซากุระไหวพลิ้วไปกับสายลม
ด้านนอกวัดยังไม่มีสิ่งใดเคลื่อนไหว เมืองทั้งเมืองเงียบสนิท
ขณะเดินออกไปตามถนน
เห็นป้ายกระดาษแผ่นหนึ่งที่มีคนเขียนไว้แถวหน้าวัด เป็นข้อความเชิงบอกกล่าวความในใจของผู้ที่มาแสวงหาความสงบ
ว่า “ Everyday I listen to my heart ” อ่านแล้วชอบใจมาก
เดาเอาว่าผู้ที่เขียนไว้คงต้องถูกบังคับให้ฟังคนอื่นมาตลอดชีวิต จึงต้องมาหาที่สงบเพื่อบอกสิ่งที่ตัวเองอยากฟังบ้าง
แม้อาจจะตีความหมายต่างกับผู้เขียน แต่ก็ทำให้อิฉันมีความสุข และดูเหมือนว่าจะพบทางของตัวเองบ้างแล้ว
เดินได้สักพักบรรดาลูกทัวร์ก็ถูกความเงียบเหงาเกาะกินหัวใจจนแทบทนไม่
ไหว จึงร้องชวนกันกลับไปลุยแสงสีที่โอซาก้ากันเร็วขึ้น ผู้สูงอายุอย่างอิฉันแม้จะชอบความเงียบ
แต่ก็ต้องตามใจหัวหน้าทีม
เราจึงจำต้องพากันไปห้องทำงานเพื่อกราบลาท่านเจ้าอาวาส
และหลวงพี่ที่ช่วยกันดูแลเรา ช่วงที่บอกลาดูเหมือนว่า
พระท่านมิได้แสดงอาการตกใจแต่อย่างใด หลวงพี่ทั้งสามแอบส่งสายตาบอกความในใจว่า “ นึกแล้วเชียวว่า โยมคงอยู่ไม่นาน” เราก็ได้แต่ก้มกราบลาอย่างอายๆ เอาไว้โอกาสหน้าหวังว่าคงได้มากราบท่านใหม่...
ซาโยนาระ เจ้าค่ะ
และในที่สุดเราก็กลับลงมาจาก
Koyasan สู่พื้นโลกอีกครั้ง ท่ามกลางความหนาวเย็น และเมฆหมอก
ถึงจะไม่อาลัยอาวรณ์มากมายเหมือนเมืองคิโนซากิ แต่ก็นับว่าเมืองนี้ได้ให้ประสบการณ์ที่มีค่ากับเราอย่างมาก
อย่างน้อยที่สุดก็คือความสงบของธรรมชาติ และ จิตใจ ได้เห็นว่าชีวิตนี้ไม่จำเป็นต้องอยู่อย่างฟุ้งเฟื้อก็สามารถมีความสุขได้
และท้ายสุด เราทุกคนก็จะมารวมกันอยู่ในที่ที่เรียกว่า สุสานนั่นเอง
นี่คือบทจบของซีรีส์ “เที่ยวญี่ปุ่น”
หวังว่าสิ่งที่เล่ามานี้ จะเป็นประโยชน์ต่อทุกท่านบ้าง ขอให้โชคดีทุกท่านค่ะ ......