ช่วงที่ใช้ชีวิตอยู่เมืองหัวหิน ได้เห็นนักท่องเที่ยวต่างชาติเดินอย่างมีความสุขกันเต็มเมือง
ก็รู้สึกแปลกใจนิดๆว่า อากาศบ้านเราช่างร้อนระอุอย่างนี้แล้วเหตุใดหนอ คนต่างชาติจึงยังติดอกติดใจ
ชื่นชอบมากขนาดต้องมาให้ได้ทุกปี ในขณะที่เรากลับอยากจะไปอยู่เมืองอื่นที่เย็นสบายเสียจริง
ยิ่งหากได้ถามไถ่ถึงเหตุผลว่าชอบเมืองไทยตรงไหนแล้วละก็ บรรดาฝรั่งมังค่าก็แทบจะพร่ำพรรณนาถึงความงดงาม
ความสุขสบายของบ้านเราออกมาแทบฟังไม่ทัน จึงนึกไปว่า
เป็นเรื่องธรรมดาที่คนต่างถิ่นก็ต้องชอบบรรยากาศที่ไม่เหมือนกับสิ่งแวดล้อม ที่ตัวเองต้องอาศัยอยู่ทุกวัน เราก็คงเป็นเช่นนั้น
ความที่เราอยู่ที่นี่ทุกวัน จึงมองไม่เห็นว่าสิ่งรอบตัวของเรานั้น
พิเศษกว่าที่ใดๆในโลก
แม้จะฟังเขาพร่ำเพ้อมากเพียงใด ก็ยังไม่เข้าใจอารมณ์ของเขาอยู่ดี จนเมื่อเราได้ไปต่างเมือง และมีฐานะเป็นนักท่องเที่ยวต่างชาติเช่นเดียวกับเขา ที่ไปตกหลุมรักเมืองๆหนึ่งอย่างถอนตัวไม่ขึ้นนั่นละ จึงเข้าใจแล้วว่า เวลารักใคร หรือรักสถานที่แห่งใดเข้าแล้วนั้น อารมณ์ความรู้สึกที่อธิบายไม่ได้นั้น เป็นอย่างไร
แม้จะฟังเขาพร่ำเพ้อมากเพียงใด ก็ยังไม่เข้าใจอารมณ์ของเขาอยู่ดี จนเมื่อเราได้ไปต่างเมือง และมีฐานะเป็นนักท่องเที่ยวต่างชาติเช่นเดียวกับเขา ที่ไปตกหลุมรักเมืองๆหนึ่งอย่างถอนตัวไม่ขึ้นนั่นละ จึงเข้าใจแล้วว่า เวลารักใคร หรือรักสถานที่แห่งใดเข้าแล้วนั้น อารมณ์ความรู้สึกที่อธิบายไม่ได้นั้น เป็นอย่างไร
“คิโนซากิ” เปรียบเหมือนหญิงงามที่ครอบครองหัวใจของใครสักคน ไว้อย่างเงียบๆ และหวังไว้ทุกวันว่า จะต้องกลับไปหาหล่อนให้ได้อีกสักครั้ง เมืองเล็กๆที่ชื่อ “ คิโนซากิ” ตั้งอยู่ในหุบเขาชายทะเลทางตะวันตกของเกาะฮอนชู ในประเทศญี่ปุ่น ที่นี่มีบ่อน้ำพุร้อนธรรมชาติอยู่หลายแห่ง เป็นเมืองที่คนญี่ปุ่นรู้จักดี จนเรียกเมืองนี้ว่า คิโนซากิ ออนเซ็น ที่นี่นอกจากจะเป็นเมืองแห่งบ่อน้ำร้อนระดับแนวหน้าของญี่ปุ่นแล้ว สิ่งที่ทำให้เมืองนี้มีเสน่ห์น่าหลงใหลอย่างมากคือ คลองน้ำเล็กๆกลางเมืองที่พลิ้วไหวด้วยใบหลิวตลอดสองฝั่งที่ยาวสุดสายตา ไม่ว่าจะเดินไปตามฝั่งคลองในเวลาไหน เช้า สาย บ่าย เย็น หรือยามค่ำ ความงามของต้นหลิวริมคลองก็มีความงามที่แตกต่างชวนให้มองได้แบบไม่เบื่อทุกเวลา
นับตั้งแต่มีการค้นพบน้ำพุร้อนหลายแห่งในบริเวณเมืองคิโนซากิ ในศตวรรษที่ 8 หมู่บ้านชายฝั่งทะเลแห่งนี้ก็ผันตัวเองมาเป็นเมืองแห่งการอาบน้ำแร่แบบโบราณ ที่ชาวญี่ปุ่นต่างฝันใฝ่ที่จะได้มาสักครั้ง
แต่ที่ คิโนซากิ มีบรรยากาศที่แตกต่างจากเมืองท่องเที่ยวอื่นๆโดยสิ้นเชิง เพราะชาวเมืองได้ตกลงกันที่จะเก็บรักษาบรรยากาศของเมืองเล็กๆที่มีเสน่ห์นี้ ไว้ ด้วยการหลีกเลี่ยงการสร้างโรงแรมทันสมัย และสถานบันเทิงใหญ่โตขึ้นในเมือง
โดยชาวเมืองทั้งหมดพร้อมใจกันรักษาบรรยากาศดั้งเดิมของหมู่บ้าน โดยสร้างเพียงโรงแรมหรือบ้านพักเล็กๆที่เรียกว่า “ เรียวกัง” ryokan ไว้ให้แขกที่มาเยี่ยมเยือนได้พัก พร้อมมีอาหารชุดแบบดั้งเดิมเสริฟในทุกมื้อ โดยผู้มาพักในทุกโรงแรมสามารถออกไปเลือกอาบน้ำแร่ตามโรงอาบน้ำสาธารณะในเมืองที่มีถึง 7 แห่งได้โดยไม่ต้องเสียเงิน อีกทั้งยังสนับสนุนให้ผู้มาพักเดินชมรอบเมืองขนาดเล็กนี้ เพื่อเลือกซื้อของฝากของขวัญ และอาหารว่างตามแบบฉบับของญี่ปุ่น ซึ่งนับเป็นการสร้างบรรยากาศและประสบการณ์ที่น่าประทับใจให้กับผู้มาเยือนอย่างมาก
สิ่งที่ทำให้เมืองนี้มีเสน่ห์อย่างยิ่งคือภาพที่ผู้คน ซึ่งส่วนใหญ่เป็นนักท่องเที่ยว ใส่ชุดยูกาตะ ( ชุดเสื้อคลุมคล้ายกิโมโน แต่เป็นแบบลำลอง สำหรับใส่อยู่บ้านแบบสบายๆ) และเดินไปบนถนนรอบเมืองด้วยรองเท้าไม้ หรือเกี๊ยะ เสียงของรองเท้าจะดังก๊อก แก๊ก ๆๆๆ ไปตั้งแต่ช่วงบ่าย ซึ่งเป็นช่วงที่นักท่องเที่ยวออกมาหาที่อาบน้ำแร่กัน ไปจนถึงช่วงค่ำ ก็จะค่อยๆเงียบหายไป เมื่อทุกคนเข้าที่พักเพื่อรับประทานอาหารแบบญี่ปุ่นแท้เต็มยศ ที่เรียกว่า ไคเซกิเรียวริ Kaiseki Ryori
จากการที่ได้มาเดินอยู่ในบรรยากาศของหมู่บ้านญี่ปุ่นโบราณนี่เอง อย่าว่าแต่คนต่างชาติอย่างเราจะประทับใจเมืองนี้เลย แม้แต่คนญี่ปุ่นเองก็ติดใจกันอย่างมาก ผู้คนที่มีอาชีพทำงานหนักในเมืองใหญ่ จึงมักจะหาโอกาสมาพักผ่อนที่นี่กันเสมอ เพราะเหมือนได้มาCharge แบตเตอร์รี่กันใหม่ ก่อนที่จะกลับไปลุยงานต่อ การมาพักที่เมืองนี้ช่วยให้ความรู้สึกสงบและเป็นอิสระทางใจเหลือเกิน การมาพักแค่ช่วงสั้นแค่คืนเดียวของดิฉัน จึงดูเหมือนเป็นความฝัน ที่ทรมานใจขณะต้องรีบตื่นและจากไปอย่างเงียบๆ แบบไม่เต็มใจ
เมืองคิโนซากิ
ดูเหมือนว่าจะเป็นที่รู้จักกันมากในกลุ่มของคนญี่ปุ่นเท่านั้น สำหรับคนต่างชาติแล้ว
ออกจะเป็นเรื่องยุ่งยากสักหน่อยที่จะหาเมืองนี้พบ เพราะเป็นที่รู้กันว่าในประเทศญี่ปุ่น
มีการสื่อสารด้วยภาษาอังกฤษน้อยมาก การหาทางมาจึงต้องอาศัยคนรู้ภาษาญี่ปุ่นบ้าง ช่วงทำแผนเดินทาง
เราตัดสินใจมาเมืองนี้โดยไม่ทราบข้อมูลมากนัก เห็นเพียงว่าเป็นเมืองเล็กๆในชนบท ก็นับว่ามีคุณสมบัติเพียงพอสำหรับเราแล้ว
อีกทั้งเวลาเดินทาง
2 ชั่วโมงครึ่ง จากโกเบ เมืองท่าฝั่งตะวันออกของญี่ปุ่นก็ไม่ยุ่งยากนัก
การมาเมืองนี้ จึงถือเป็นการตัดสินใจที่ดี และก็จริงตามนั้นเพราะขณะที่เรานั่งรถไฟตัดข้ามเกาะฮอนชู
มายังสุดชายแดนด้านตะวันตก ซึ่งเป็นที่ตั้งของ “ คิโนซากิ”
นั้น ด้วยทิวทัศน์ของสองข้างทาง ทำให้เวลาดูเหมือนว่าจะไม่ยาวนานเลย
ทันทีที่ลงจากรถไฟ เราก็มายืนอยู่กลางเมืองตุ๊กตาแห่งนี้แล้ว
ภาพที่เห็นเมื่อมองผ่านศาลาน้ำพุร้อนหน้าสถานีรถไฟ ที่ชาวเมืองสร้างไว้ต้อนรับแขกที่มาเยือน
ให้ใช้ล้างหน้าล้างตา
เรารู้สึกเหมือนกำลังย้อนเวลาเข้าไปในช่วงยุคสงครามโลกครั้งที่สอง เพราะบ้านเรือนสองข้างทางบนถนนสายหลักของเมืองที่เราเดินผ่านไป เป็นบ้านไม้สองชั้นแบบเก่า แต่สภาพดี ทุกบ้านทุกร้านค้ายังคงเปิดขายสินค้า และก็ยังเป็นสินค้าพื้นบ้านเดิมๆ เราพยายามมองหาตู้กดน้ำกระป๋อง หรือสินค้าทันสมัยอย่างอื่น ก็ดูเหมือนว่าจะถูกนำไปตั้งในที่ที่ลับตา เพื่อไม่ให้เสียบรรยากาศของเมือง ความรู้สึกเหมือนกำลังดูหนังญี่ปุ่นย้อนยุคเรื่อง Always หรืออีกที รู้สึกเหมือนกำลังอยู่ในหนังเรื่องนั้นมากกว่า
โดยเฉพาะสายน้ำระยิบระยับในคลองที่มีชื่อเสียงของเมือง
ภาพของใบหลิวที่ต้องแสงอาทิตย์ยามบ่าย ทำให้เราตื่นตาตื่นใจอยากจะรีบออกมาเดินให้ทั่วเมืองโดยเร็ว
โรงแรมของเราเป็นบ้านพักขนาดเล็กที่เรียกว่า
เรียวกัง ( ความจริงคือเมืองนี้มีแต่ เรียวกังขนาดเล็ก แบบบ้านเดี่ยวทั้งเมือง ไม่มีโรงแรมใหญ่ระดับ
4-5 ดาวให้พูดถึง โปรดลืมไปได้เลย ) ขนาดของโรงแรมแม้จะเล็ก
แต่การตกแต่งภายในสะดวกสบายน่ารักไปหมด มีพื้นที่เป็นลานไม้ยกพื้นสูงคล้ายห้องโถงของบ้านที่แขกสามารถนั่งคุย
จิบชา และผิงไฟในวันที่อากาศหนาวเย็น ดูแล้วเหมือนเป็นบ้านใหญ่หลังหนึ่งมากกว่าจะเป็นโรงแรม
ทันทีที่เราถึงหน้าบ้าน
ก็ได้รับการต้อนรับจากพนักงาน หรือแม่บ้านเป็นอย่างดี น่าแปลกที่แม้จะไม่มีภาษาอังกฤษจากผู้ที่กำลังให้การต้อนรับ
(พูดอีกทีคือ ไม่มีการใช้ภาษาอังกฤษทั้งเมือง) แต่สิ่งที่เธอปฏิบัติต่อเรา ดูราวกับว่าเรากำลังเป็น
“นายหญิง” ของบ้านที่เพิ่งกลับมาอย่างนั้น ภาพที่เธอโค้งศีรษะ
และกล่าวต้อนรับทำให้เราดูเหมือนจะสูงส่งกว่าปกติไปได้ชั่วขณะ
และไม่ต้องบอกเลยว่า ทันที่ที่ก้าวเข้ามาในบ้าน รองเท้าของเราจะถูกถอด เอาไปเก็บที่ตู้หลังบ้านซึ่งมิดชิดมาก เหมือนจะบอกให้รู้ว่า ต่อไปนี้รองเท้าผ้าใบไม่ว่าราคาแพงแค่ไหนก็ตาม จะไม่มีโอกาสได้เหยียบพื้นถนนของเมืองนี้อีกแล้ว สิ่งที่ทำได้คือมองตามรองเท้าของเรา พร้อมกล่าวคำอำลาไปอย่างเงียบๆชั่วขณะ สิ่งที่เราได้รับมาแทนที่คือ เกี๊ยะไม้ของบ้าน ที่มีขนาดพอเหมาะกับเรา ซึ่งบอกตามตรงว่า ต้องใช้ความพยายามอยู่พักใหญ่ กว่าจะเยื้องกายอย่างสง่างามบนเจ้าเขียงไม้นี้ได้
ต่อจากรองเท้า
ก็ถึงคราวเสื้อผ้าราคาแพงของเราที่จะถูกกำจัดออกไป เพราะมีกฎว่าเมื่อเข้ามาเมืองนี้แล้ว
คุณจะต้องใส่ชุดยูกาตะ หรือ กิโมโน เท่านั้น ดังนั้นก่อนเราจะเข้าห้องพัก
พนักงานหญิงจึงนำเสื้อยูกาตะ หลากสีหลายลาย
พร้อมเสื้อคลุมครึ่งท่อนแบบหนาที่ใช้สำหรับกันหนาวที่เรียกว่า Haori มาให้เราเลือก
เมื่อล้างหน้าล้างตา ดื่มชาเขียวพร้อมขนมอร่อยๆในห้องพักเรียบร้อยแล้ว แม่บ้านก็มาเคาะประตู บอกว่าจะมาช่วยใส่เสื้อยูกาตะให้ ช่วงแต่งตัวนี่ก็โดนดุตามระเบียบ เพราะดันใส่เสื้อผิดประเพณีของเขา ความที่เราเป็นคนถนัดติดกระดุมเสื้อแบบ ขวาทับซ้าย จึงใส่ยูกาตะด้วยด้านขวาทับด้านซ้ายไปด้วย ซึ่งเป็นข้อห้ามร้ายแรงของการใส่ชุดกิโมโน และยูกาตะ พอแม่บ้านเห็นเราใส่แบบขวาทับซ้ายเท่านั้น หล่อนก็ถึงกับโผเข้ามาดึงออก พร้อมทำมือห้าม พร้อมพูดภาษาญี่ปุ่นออกมายาวเหยียด ( มีคนแปลให้ฟังว่า การใส่ชุดกิโมโนสำหรับคนเป็น ( คนที่มีชีวิต) จะใส่ซ้ายทับขวา สำหรับคนตายเท่านั้นที่ใส่ขวาทับซ้าย เกือบไปแล้วไม๊เรา)
หลังจากเปลี่ยนตัวเองเป็นสาวญี่ปุ่นกันเสร็จแล้ว
ก็ถึงเวลาออกไปเดินชมเมือง และหาที่อาบน้ำแร่กัน แม้วันนั้นอากาศจะยังเย็นอยู่
แต่เราก็อดทนไม่ยอมใส่เสื้อ Haori คลุมทับ เพราะอยากสวยเอามากๆ
ผู้ชายญี่ปุ่นบางคนใส่เสื้อคลุมเนื่องจากชุดยูกาตะของผู้ชายเป็นเนื้อผ้าชั้นเดียวอาจหนาว ซึ่งเมื่อใส่เสื้อ Haori คลุมแล้วก็ดูภูมิฐานดีมาก
คุณผู้ชายนอกจากชุดยุกาตะ และเกี๊ยะแล้ว ทุกคนต้องมีตะกร้าเล็กๆ หรือถุงผ้าสำหรับใส่ของส่วนตัวด้วยทุกคน
ดูแล้วเหมือนซามูไรเดินกันเต็มเมือง
สุดถนนเลียบคลอง
ก็มาถึงถนนสายหลัก ที่ยามนี้คลาคล่ำไปด้วยผู้คนในชุดยูกาตะ และกิโมโน เสียงย่ำเกี๊ยะดังระงมไปทั่วเมือง
ร้านขนมสองข้างทางเริ่มคึกคัก มีที่นั่งสวยๆไว้ให้ลูกค้านั่งทาน เราอดไม่ได้ที่จะแวะชมของสวยงามในร้านขายของที่ระลึก
แถมซื้อ โอเด้ง และไอศกรีม ทานให้สบายใจ
ก่อนที่จะถึงโรงอาบน้ำเป้าหมายของเราอีกด้วย
ที่หน้าโรงอาบน้ำ มีผู้คนมากมายทั้งชายและหญิง
เด็ก คนแก่ คนหนุ่มสาว เท่าที่เห็นมีคนต่างชาติเพียงคณะเดียวของเมืองนี้
คือกลุ่มของเรานี่ล่ะ ทันทีที่เข้าไปในโรงอาบน้ำก็จะมีคนมาเก็บเกี๊ยะของเราไปวางไว้โดยแยกเป็นของแต่ละโรงแรม
( ที่เกี๊ยะมีชื่อโรงแรมเขียนอยู่ เราต้องจำชื่อให้ได้ เวลากลับจะได้หยิบถูก)
โรงอาบน้ำแห่งนี้ เป็นแบบแยกห้องชาย หญิง ( มีบางแห่งอาบปนชาย หญิง
) ดิฉันและเพื่อนตั้งท่าเอาจริงอย่างมาก เดินเข้าไปในส่วนที่เป็นห้องผู้หญิงอย่างมุ่งมั่น แต่พอเข้าไปถึงแค่ส่วนที่เป็นจุดเปลี่ยนเสื้อผ้า
ไม่ใช่ซิ… จุดถอดเสื้อ จึงจะถูก เราก็ถึงกับผงะ ตาค้าง เพราะภาพที่เห็นคือ ผู้หญิงจำนวนไม่ต่ำกว่า
50 คน ในชุดวันเกิด เดินบ้าง นั่งบ้าง แปรงผม แต่งหน้า คุยกันสนุกสนาน
เหมือนไม่มีคนอื่นอยู่ในห้อง
เมื่อมองทะลุเข้าไปในห้องอาบน้ำซึ่งเป็นสระน้ำใหญ่
ท่ามกลางม่านไอน้ำ ก็เห็นผู้คนกำลังแช่อยู่ในสระจำนวนมาก แม้จะทำใจและศึกษาเรื่องกฎกติกาการอาบน้ำแบบญี่ปุ่นมาบ้างแล้วก่อนมาเมืองนี้ก็ตาม แต่ภาพที่เห็นนอกจากจะทำให้เราตกใจแล้ว ยังทำให้ความตั้งใจของเราหดหายไปด้วย จึงไม่แปลกเลยที่จะเห็นหญิงไทยใจกล้าอย่างเรา รีบลนลานออกมาจากห้องอาบน้ำแบบสายฟ้าแลบ
โดยมิได้นัดหมายกันไว้ล่วงหน้า ในที่สุดทีมไทยแลนด์ทั้งทีมชายและทีมหญิงก็กระเจิงออกมาพบกันที่หน้าโรงอาบน้ำอย่างไม่เป็นกระบวน ความเก่งที่คุยไว้ก่อนเข้าหายไปหมดสิ้น เป็นอันว่าไม่มีใครเพลี่ยงพล้ำกัน คือ ยอมแพ้ทุกคน โถ…. ก็เห็นภาพบาดตาอย่างนั้นใครจะไปอดใจไหว ขอบายก่อนล่ะ
น้ำพุที่ไหลออกมาจากท่อหินกลางบ่อน้ำร้อนพอสมควร ซึ่งน่าจะเป็นอุณหภูมิปกติของน้ำพุร้อน
พอกลุ่มเราเข้าไปขอนั่งแช่เท้าด้วย คนญี่ปุ่นก็ทำท่าเชิญชวนและลุกขึ้นให้พวกเราได้ใช้บ่ออย่างสะดวก
คนเมืองนี้ช่างมีน้ำใจเสียจริง เราสังเกตเห็นว่าบ่อน้ำพุร้อนแบบนี้มีอยู่ทั่วไปในเมือง
มีทั้งแบบทรงสูงสำหรับใช้ล้างหน้าล้างตา และแบบแช่เท้า บ่อเหล่านี้ชาวเมืองทำกันไว้
และต่อท่อไปตามถนนสำคัญๆ เพื่อให้นักท่องเที่ยวได้ใช้ เรียกได้ว่าน้ำในเมืองนี้เป็นน้ำแร่ร้อนทั้งเมืองก็ว่าได้
เรื่องน้ำพุร้อนนี่ ต้องชมว่าประเทศนี้โชคดีมากที่มีแหล่งน้ำพุร้อนมากมายทั่วประเทศ
โดยมีแทบทุกจังหวัด เล็กบ้างใหญ่บ้าง ดังนั้นคนญี่ปุ่นจึงมีวัฒนธรรมที่เกี่ยวกับการอาบน้ำพุร้อนมายาวนาน
โดยทุกเมือง จะมีรีสอร์ท และโรงอาบน้ำเปิดให้บริการ หากเป็นน้ำร้อนจากธรรมชาติ
เขาจะเรียกว่า Onsen แต่บางแห่งที่ไม่มีแหล่งน้ำพุธรรมชาติ โรงอาบน้ำก็จะใช้น้ำธรรมดาต้มให้ร้อนก็พอใช้ได้
น้ำพุร้อนแต่ละแหล่งจะมีแร่ธาตุที่แตกต่างกันไป ขึ้นอยู่กับสภาพแวดล้อม แต่ทุกที่มีจุดประสงค์เดียวกันคือ แช่น้ำร้อนเพื่อพักผ่อนจิตใจ และ ช่วยให้สุขภาพร่างกายดีขึ้น ปัจจุบัน รีสอร์ทน้ำพุร้อนมีเกิดขึ้นหลายรูปแบบ มีทั้งแบบในร่ม คือตามโรงอาบน้ำทั่วไปที่มีหลังคาปิด หรือแบบเปิดโล่งกลางแจ้ง ซึ่งต้องเป็นแหล่งที่ใหญ่พอที่จะเก็บความร้อนไว้ในรอบบริเวณได้
น้ำพุร้อนแต่ละแหล่งจะมีแร่ธาตุที่แตกต่างกันไป ขึ้นอยู่กับสภาพแวดล้อม แต่ทุกที่มีจุดประสงค์เดียวกันคือ แช่น้ำร้อนเพื่อพักผ่อนจิตใจ และ ช่วยให้สุขภาพร่างกายดีขึ้น ปัจจุบัน รีสอร์ทน้ำพุร้อนมีเกิดขึ้นหลายรูปแบบ มีทั้งแบบในร่ม คือตามโรงอาบน้ำทั่วไปที่มีหลังคาปิด หรือแบบเปิดโล่งกลางแจ้ง ซึ่งต้องเป็นแหล่งที่ใหญ่พอที่จะเก็บความร้อนไว้ในรอบบริเวณได้
โรงอาบน้ำหรือรีสอร์ทส่วนใหญ่จะแบ่งเป็นส่วนของชาย
และหญิงแยกกัน แต่บางแห่งก็อาบรวมกันทั้งชายและหญิง ซึ่งถือเป็นเรื่องปกติของคนญี่ปุ่น
นอกจากน้ำพุร้อนจากธรรมชาติแล้ว เดี๋ยวนี้มีการตั้งสถานที่อาบน้ำร้อนแบบแปลกๆเพิ่มมากขึ้น
เช่นอาบไวน์แดงร้อนๆ หรือ อาบน้ำกาแฟ หรือ ช๊อกโกแลตร้อนๆก็มี ทั้งหมดก็ด้วยความเชื่อว่าจะช่วยให้ร่างกายได้สารที่มีประโยชน์จากน้ำที่นำ
มาอาบนั่นเอง
ในทุกแหล่งน้ำพุร้อนเหล่านี้จะมีบ้านพักแบบ ryokan เปิดบริการด้วยทุกที่ เพราะการจะมาอาบน้ำให้ได้สุนทรียภาพ ก็ควรจะมาพักค้างคืนเพื่อรับประทานอาหาร และ ได้รับการดูแลอย่างดีเลิศไปพร้อมกัน การมาพักบ้านพักพร้อมแช่น้ำพุร้อนจึงเป็นทัวร์ที่นักท่องเที่ยวต่างชาติ ปรารถนาอยากจะมาให้ได้สักครั้ง ที่บ้านพักเหล่านี้จึงต้องมีห้องอาบน้ำแร่ ที่เรียกว่า kashikiri ไว้บริการแขกที่มาพัก หลายห้อง เพราะในห้องพักแขกทุกห้องจะไม่มีห้องอาบน้ำส่วนตัวให้ มีแต่ห้องสุขา และอ่างล้างหน้าเท่านั้น ดังนั้นแขกทุกคน หากไม่ออกไปอาบน้ำที่โรงอาบน้ำสาธารณะก็ต้องออกมาอาบน้ำในห้องน้ำรวมของโรงแรม นอกจากแขกที่พักแล้ว หากบางคนที่ไม่พักค้างคืนก็สามารถมาเสียเงินอาบน้ำที่บ้านพักอย่างเดียวก็ได้เช่นกัน
สำหรับโรงอาบน้ำสาธารณะ ที่เรียกว่า Sento มักจะมีอยู่ทั่วไปในประเทศญี่ปุ่น ที่ต้องมีเพราะในสมัยก่อน บ้านแบบญี่ปุ่นมักจะไม่มีห้องอาบน้ำในบ้าน การจะอาบน้ำจึงต้องหาสถานที่อาบที่อื่น ซึ่งก็คืออาบในลำน้ำตามธรรมชาติ แต่ในบางฤดูไม่สามารถอาบกลางแจ้งได้ ดังนั้นจึงมีการตั้งสถานที่อาบน้ำขึ้นมาบริการเป็นธุรกิจ เพื่อให้คนในชุมชนมาใช้บริการ อีกทั้งยังกลายเป็นสถานที่ชุมนุมพบปะสังสรรค์ของชาวเมืองไปเลย โดยจะพูดคุยกันระหว่างที่นั่งแช่อยู่ในอ่างน้ำร้อนใหญ่ของโรงอาบน้ำนั้นนั่น เอง ซึ่งก็อาจไม่ใช่น้ำแร่ในทุกโรง แต่ก็ต้องเป็นน้ำร้อนที่มีอุณหภูมิที่เป็นมาตรฐาน คือ 40-44 องศา ส่วนราคาค่าบริการมีตั้งแต่ 200 – 2,000 เยน ขึ้นอยู่กับสภาพของสถานที่ว่าจะโอ่โถงแค่ไหน และส่วนใหญ่โรงอาบน้ำมักจะเปิดให้บริการตลอด 24 ชั่วโมง อยากจะอาบเวลาไหนก็เชิญตามสะดวก แต่กฎระเบียบก็ยังคงเหมือนเดิมคือ ต้องไม่ใส่เสื้อผ้า หรือแม้แต่ชุดว่ายน้ำลงไปแช่เด็ดขาด
ปัจจุบันบ้านเรือนของคนญี่ปุ่นปลูกแบบสมัยใหม่ ที่มักจะมีห้องน้ำอยู่ในบ้าน ผู้คนจึงออกมาใช้บริการโรงอาบน้ำสาธารณะน้อยลง จำนวนโรงอาบน้ำสาธารณะแบบเก่าก็ค่อยๆลดหายไปด้วย ที่เหลืออยู่ก็ปรับเปลี่ยนให้เป็นคอมแพลกซ์ คือมีบริการอื่นๆเข้ามาร่วมด้วย เช่นทำสระแช่น้ำในรูปแบบแปลกๆ หรือมีซาวน่า และฟิตเนส ห้องเสริมสวย หรือแม้แต่สวนสนุก เพิ่มขึ้นมาไว้บริการ ด้วย
ในญี่ปุ่นมีกฎกติกามารยาททางวัฒนธรรมมากมาย เรื่องการอาบน้ำก็ต้องมีกฎกติกามารยาทในการอาบน้ำด้วยเช่นกัน กฎที่ว่านี้ใช้กับสถานที่อาบน้ำสาธารณะ หรือห้องน้ำที่ใช้ร่วมกัน บางแห่งอาจจะเข้มงวดกว่านี้ ซึ่งก็ขึ้นอยู่กับแต่ละที่ไป แต่ที่นำมาเล่านี้เป็นเพียงกฎทั่วไปที่ควรรู้เท่านั้น คือ
ในทุกแหล่งน้ำพุร้อนเหล่านี้จะมีบ้านพักแบบ ryokan เปิดบริการด้วยทุกที่ เพราะการจะมาอาบน้ำให้ได้สุนทรียภาพ ก็ควรจะมาพักค้างคืนเพื่อรับประทานอาหาร และ ได้รับการดูแลอย่างดีเลิศไปพร้อมกัน การมาพักบ้านพักพร้อมแช่น้ำพุร้อนจึงเป็นทัวร์ที่นักท่องเที่ยวต่างชาติ ปรารถนาอยากจะมาให้ได้สักครั้ง ที่บ้านพักเหล่านี้จึงต้องมีห้องอาบน้ำแร่ ที่เรียกว่า kashikiri ไว้บริการแขกที่มาพัก หลายห้อง เพราะในห้องพักแขกทุกห้องจะไม่มีห้องอาบน้ำส่วนตัวให้ มีแต่ห้องสุขา และอ่างล้างหน้าเท่านั้น ดังนั้นแขกทุกคน หากไม่ออกไปอาบน้ำที่โรงอาบน้ำสาธารณะก็ต้องออกมาอาบน้ำในห้องน้ำรวมของโรงแรม นอกจากแขกที่พักแล้ว หากบางคนที่ไม่พักค้างคืนก็สามารถมาเสียเงินอาบน้ำที่บ้านพักอย่างเดียวก็ได้เช่นกัน
สำหรับโรงอาบน้ำสาธารณะ ที่เรียกว่า Sento มักจะมีอยู่ทั่วไปในประเทศญี่ปุ่น ที่ต้องมีเพราะในสมัยก่อน บ้านแบบญี่ปุ่นมักจะไม่มีห้องอาบน้ำในบ้าน การจะอาบน้ำจึงต้องหาสถานที่อาบที่อื่น ซึ่งก็คืออาบในลำน้ำตามธรรมชาติ แต่ในบางฤดูไม่สามารถอาบกลางแจ้งได้ ดังนั้นจึงมีการตั้งสถานที่อาบน้ำขึ้นมาบริการเป็นธุรกิจ เพื่อให้คนในชุมชนมาใช้บริการ อีกทั้งยังกลายเป็นสถานที่ชุมนุมพบปะสังสรรค์ของชาวเมืองไปเลย โดยจะพูดคุยกันระหว่างที่นั่งแช่อยู่ในอ่างน้ำร้อนใหญ่ของโรงอาบน้ำนั้นนั่น เอง ซึ่งก็อาจไม่ใช่น้ำแร่ในทุกโรง แต่ก็ต้องเป็นน้ำร้อนที่มีอุณหภูมิที่เป็นมาตรฐาน คือ 40-44 องศา ส่วนราคาค่าบริการมีตั้งแต่ 200 – 2,000 เยน ขึ้นอยู่กับสภาพของสถานที่ว่าจะโอ่โถงแค่ไหน และส่วนใหญ่โรงอาบน้ำมักจะเปิดให้บริการตลอด 24 ชั่วโมง อยากจะอาบเวลาไหนก็เชิญตามสะดวก แต่กฎระเบียบก็ยังคงเหมือนเดิมคือ ต้องไม่ใส่เสื้อผ้า หรือแม้แต่ชุดว่ายน้ำลงไปแช่เด็ดขาด
ปัจจุบันบ้านเรือนของคนญี่ปุ่นปลูกแบบสมัยใหม่ ที่มักจะมีห้องน้ำอยู่ในบ้าน ผู้คนจึงออกมาใช้บริการโรงอาบน้ำสาธารณะน้อยลง จำนวนโรงอาบน้ำสาธารณะแบบเก่าก็ค่อยๆลดหายไปด้วย ที่เหลืออยู่ก็ปรับเปลี่ยนให้เป็นคอมแพลกซ์ คือมีบริการอื่นๆเข้ามาร่วมด้วย เช่นทำสระแช่น้ำในรูปแบบแปลกๆ หรือมีซาวน่า และฟิตเนส ห้องเสริมสวย หรือแม้แต่สวนสนุก เพิ่มขึ้นมาไว้บริการ ด้วย
ในญี่ปุ่นมีกฎกติกามารยาททางวัฒนธรรมมากมาย เรื่องการอาบน้ำก็ต้องมีกฎกติกามารยาทในการอาบน้ำด้วยเช่นกัน กฎที่ว่านี้ใช้กับสถานที่อาบน้ำสาธารณะ หรือห้องน้ำที่ใช้ร่วมกัน บางแห่งอาจจะเข้มงวดกว่านี้ ซึ่งก็ขึ้นอยู่กับแต่ละที่ไป แต่ที่นำมาเล่านี้เป็นเพียงกฎทั่วไปที่ควรรู้เท่านั้น คือ
1. เมื่อเข้าไปถึงห้องเปลี่ยนเสื้อ
ให้ถอดเสื้อผ้าทั้งหมด รวมทั้งผ้าเช็ดตัว ของคุณออก
จากนั้นวางไว้ในตะกร้าที่เตรียมไว้ให้ หรือหากมีทรัพย์สินที่มีค่าให้ใส่ในล๊อคเกอร์ที่จัดไว้
ห้ามใส่ลงสระแช่ตัว
2. การอาบน้ำแบบญี่ปุ่น ต้องอาบแบบเปลือยกายเท่านั้น ไม่อนุญาตให้ใส่ชุดอะไรเลยลงไปในอ่างแช่น้ำร้อน แต่อาจจะอนุโลมให้มีผ้าเช็ดหน้าผืนเล็ก ขนาดกว้างยาว ไม่เกิน 1 ฟุต ( ซึ่งส่วนใหญ่ทางโรงแรม หรือโรงอาบน้ำจะมีไว้ให้) ถือไปด้วยเพื่อปิดบางส่วนกรณีเขินอายได้ แต่ด้วยขนาดของผ้าก็คงต้องเลือกเอาว่าจะปิดส่วนไหนดี หากตัดสินใจไม่ได้ ขอแนะนำให้ปิดหน้าตัวเองปลอดภัยที่สุด ไม่มีใครเห็น และไม่เห็นใครด้วย ผ้าผืนน้อยนี้เมื่อเราลงไปในสระแช่ตัวแล้ว ต้องวางผ้าไว้บนขอบสระ ห้ามนำลงไปแช่ในสระด้วย ( ที่ผ่านมาไม่เห็นคนญี่ปุ่นใช้เท่าใดนัก)
2. การอาบน้ำแบบญี่ปุ่น ต้องอาบแบบเปลือยกายเท่านั้น ไม่อนุญาตให้ใส่ชุดอะไรเลยลงไปในอ่างแช่น้ำร้อน แต่อาจจะอนุโลมให้มีผ้าเช็ดหน้าผืนเล็ก ขนาดกว้างยาว ไม่เกิน 1 ฟุต ( ซึ่งส่วนใหญ่ทางโรงแรม หรือโรงอาบน้ำจะมีไว้ให้) ถือไปด้วยเพื่อปิดบางส่วนกรณีเขินอายได้ แต่ด้วยขนาดของผ้าก็คงต้องเลือกเอาว่าจะปิดส่วนไหนดี หากตัดสินใจไม่ได้ ขอแนะนำให้ปิดหน้าตัวเองปลอดภัยที่สุด ไม่มีใครเห็น และไม่เห็นใครด้วย ผ้าผืนน้อยนี้เมื่อเราลงไปในสระแช่ตัวแล้ว ต้องวางผ้าไว้บนขอบสระ ห้ามนำลงไปแช่ในสระด้วย ( ที่ผ่านมาไม่เห็นคนญี่ปุ่นใช้เท่าใดนัก)
3. ก่อนจะลงไปแช่ในสระ
ต้องอาบน้ำด้วยฝักบัวที่ทางสระเตรียมไว้ให้ โดยร่างกายของคุณต้องสะอาดก่อนลงไปใช้สระ
หากไม่สกปรกมากก็อาบน้ำเฉยๆ แต่ส่วนใหญ่เขาอาบกันจริงจัง
เพราะทางโรงอาบน้ำจะมีสบู่เหลว และแชมพู ไว้บริการอยู่แล้ว
ทุกคนจึงมักจะอาบน้ำสระผมกันที่นี่เลย แต่ต้องล้างสบู่จากร่างกายให้หมด เรียกว่าต้องสะอาดจริงๆ
ก่อนลงไปแช่ในสระ
4.เมื่อจะลงสระ
ต้องระวังเรื่องอุณหภูมิของน้ำด้วย ต้องค่อยๆหย่อนตัวลงไปเพื่อให้ร่างกายปรับอุณหภูมิให้ชินกับอุณหภูมิของน้ำ
ที่ 40-44 องศาก่อน หากร้อนเกินไปให้ขึ้นจากน้ำมาสักครู่ก่อน
เมื่อทน หรือชินกับความร้อนของน้ำได้ ค่อยลงไปแช่ทั้งตัว โดยให้แช่อยู่เฉยๆห้ามว่ายน้ำไปมา
5.เมื่อแช่ตัวพอประมาณ ( อย่านานเกิน 10-15 นาทีเพราะความร้อนอาจทำให้ระบบภายในเปลี่ยนแปลงทำให้เป็นลมได้ ) ให้ขึ้นจากน้ำร้อน แล้วมาอาบน้ำก๊อกให้อุณหภูมิในตัวลดลงบ้าง หลังจากนั่งสักพักหากต้องการแช่ต่อก็ลงไปแช่อีกครั้ง
6. หลังจากแช่พอแล้ว ให้ขึ้นจากสระโดยไม่ต้องล้างตัวอีก เพราะสารแร่จะได้ซึมผ่านเข้าสู่ผิวหนัง และจะช่วยในการเยียวยาร่างกายได้
ทั้งหมดที่เล่ามานี้เป็นกฎกติกาง่ายๆที่ควรทราบ หากอยากลองอาบน้ำแบบหมู่ดูก็ต้องศึกษาไว้บ้าง สำหรับคณะของเรายังทำใจไม่ได้ในบางข้อ เลยต้องรีบเผ่นกลับมาอาบที่บ้านพักกันคนละห้องคนละสระไปเลย
5.เมื่อแช่ตัวพอประมาณ ( อย่านานเกิน 10-15 นาทีเพราะความร้อนอาจทำให้ระบบภายในเปลี่ยนแปลงทำให้เป็นลมได้ ) ให้ขึ้นจากน้ำร้อน แล้วมาอาบน้ำก๊อกให้อุณหภูมิในตัวลดลงบ้าง หลังจากนั่งสักพักหากต้องการแช่ต่อก็ลงไปแช่อีกครั้ง
6. หลังจากแช่พอแล้ว ให้ขึ้นจากสระโดยไม่ต้องล้างตัวอีก เพราะสารแร่จะได้ซึมผ่านเข้าสู่ผิวหนัง และจะช่วยในการเยียวยาร่างกายได้
ทั้งหมดที่เล่ามานี้เป็นกฎกติกาง่ายๆที่ควรทราบ หากอยากลองอาบน้ำแบบหมู่ดูก็ต้องศึกษาไว้บ้าง สำหรับคณะของเรายังทำใจไม่ได้ในบางข้อ เลยต้องรีบเผ่นกลับมาอาบที่บ้านพักกันคนละห้องคนละสระไปเลย
ปกติแล้วการมาพักบ้านพักแบบ Onsen Ryokan ผู้มาพักจะเริ่มด้วยการอาบน้ำแช่ตัวให้สบายอารมณ์ก่อน
แล้วจึงมารับประทานอาหารเย็นตำหรับดั้งเดิมแบบชุดใหญ่ของญี่ปุ่น ก่อนที่จะนอนพักผ่อนบนที่นอนที่ปูบนเสื่อตาตามิในห้องที่อบอุ่น
ในช่วงเช้าหากใครอยากจะแช่น้ำแร่อีก ก็สามารถตื่นลงมาแช่ได้อีกรอบก่อนอาหารเช้า ซึ่งก็เห็นมีแขกหลายคนลงมาแช่ตัวกันแต่เช้าเหมือนกัน
แต่คณะของเรามัวแต่ตระเวนรอบเมืองจนค่ำ เมื่อกลับมาถึงบ้านพักก็ถึงเวลาอาหาร จึงต้องรับทานกันก่อน การมาพักบ้านพักแบบนี้ ส่วนใหญ่เขาจะคิดค่าพักรวมอาหารมื้อเย็นและเช้าไว้ด้วย ซึ่งรับรองได้เลยว่าจะเป็นอาหารชุดพิเศษที่มีมากชนิด และจัดอย่างสวยงามชนิดที่ไม่อยากทานเลย เพราะอยากจะเก็บไว้ดูมากกว่า
แต่คณะของเรามัวแต่ตระเวนรอบเมืองจนค่ำ เมื่อกลับมาถึงบ้านพักก็ถึงเวลาอาหาร จึงต้องรับทานกันก่อน การมาพักบ้านพักแบบนี้ ส่วนใหญ่เขาจะคิดค่าพักรวมอาหารมื้อเย็นและเช้าไว้ด้วย ซึ่งรับรองได้เลยว่าจะเป็นอาหารชุดพิเศษที่มีมากชนิด และจัดอย่างสวยงามชนิดที่ไม่อยากทานเลย เพราะอยากจะเก็บไว้ดูมากกว่า
อาหารชุดดั้งเดิมนี้เรียกว่า
ไคเซกิเรียวริ ซึ่งเราได้ทานกันมาหลายมื้อแล้ว แต่ละที่
แต่ละมื้อจะไม่เหมือนกันเลย ขึ้นอยู่กับพ่อครัวของสถานที่แห่งนั้น
แต่ที่เหมือนกันคืออาหารที่เสริฟ
ต้องประกอบด้วย 5 ชนิดคือ ของเรียกน้ำย่อย ของสด ประเภทซุป
ของต้ม ของทอด และผักดองทานกับข้าวสวย ตามด้วยขนมหวาน อาหารทั้งหมดเสริฟมาในถ้วยเล็กๆน่ารัก
ที่เลือกสรรมาให้เข้ากับประเภทอาหาร ก่อนลงมือทาน ดูเหมือนว่าไม่น่าจะอิ่ม แต่พอทานไปจริงๆ
ยังไม่ครบ 5 อย่างก็ทำท่าว่าจะไม่ไหวแล้ว เห็นอาหารประเภทนี้แล้วสงสารคนทำที่ต้องทำวันละหลายอย่าง
โดยเฉพาะคนล้างถ้วยชาม วันๆคงล้างกันมือเปื่อยแน่ เพราะใช้จานชามมากจริงๆ
ต้นห้องของเรา
หลังจากทานอาหารค่ำมื้อใหญ่เสร็จเราทุกคนก็แทบจะตาปิดด้วยความง่วงนอน
แต่ภาระของการมาครั้งนี้ยังไม่จบ เราจึงลงมาอาบน้ำแช่ตัวกัน โชคดีที่ห้องอาบน้ำส่วนตัวว่างทุกห้อง
เราจึงใช้กันคนละห้องเลย วิธีการใช้ห้องอาบน้ำแบบส่วนตัวก็แค่กลับป้ายแขวนหน้าห้องว่า “ ไม่ว่าง” เท่านั้น คนอื่นก็จะไม่เข้ามายุ่งแล้ว ( ห้องน้ำไม่มีกลอนประตู )
ห้องที่ดิฉันเลือกเป็นห้องที่มีบ่อแช่เป็นแบบก้อนหินธรรมชาติ
หลังจากปฏิบัติตามกติกาแล้ว คืออาบน้ำสระผมก่อน จากนั้นก็ลงไปแช่ในสระอย่าสบายอารมณ์
ความที่ห้องแช่ตัวเป็นห้องติดกันที่มีฝาไม้ไผ่
และสวนหินกั้นเท่านั้น จึงสามารถนอนคุยกับเพื่อนที่แช่อยู่ข้างห้องไปด้วย ช่างสบายใจจริงๆ วันนั้นเราใช้เวลาแช่ตัวประมาณ
15 นาทีก็ต้องขึ้นแล้ว เพราะกลัวหน้ามืด เป็นลมในห้องน้ำ หลังจากขึ้นมารู้สึกตัวเบาอย่างประหลาด
เพราะความสบายตัวอย่างนี้เองคนญี่ปุ่นจึงชอบแช่น้ำแร่เอามากๆ เห็นทีจะติดใจเสียแล้ว
หลังจากแช่น้ำเสร็จ
เมื่อขึ้นไปบนห้องก็ปรากฏว่า แม่บ้านมาปูที่นอนหนานุ่มอุ่นๆ พร้อมเปิดไฟสลัวๆให้เหมาะกับการนอนไว้ให้แล้ว
เรา ไม่ต้องทำอะไรมาก รีบซุกตัวเข้านอนใต้ผ้าห่มอย่างสบายในชุดยูกาตะ
ที่เขาเตรียมมาให้ใส่นอน คืนนั้นแทบไม่ได้คุยอะไรกับเพื่อนเลย เพราะต่างคนต่างนอนฝันหวานใต้ผ้าห่มที่หอมสะอาดผืนนั้น
หลายคนอาจสงสัยว่าไปเหนื่อยมาจากไหนจึงรีบเข้านอน อยากเรียนให้ทราบว่าในเมืองนี้ไม่มีสถานบันเทิงเริงรมณ์ไว้บริการ มีเพียงร้านเกมปาจิงโก๊ะ แบบโบราณอยู่เท่านั้น และกฎระเบียบของบ้านพักทุกหลังคือ ประตูบ้านจะปิดประมาณ 3-4 ทุ่ม ดังนั้น อาบน้ำเสร็จก็เข้านอนมองหน้ากันจะดีกว่า ขืนออกไปท่องราตรี อาจมีสิทธิ์เข้าบ้านไม่ได้ อากาศข้างนอกก็หนาวเอามากๆด้วย ขอนอนอุ่นๆดีกว่า
ความที่เข้านอนไม่ดึกมาก เราจึงรู้สึกสดชื่นเพราะได้พักอย่างเต็มที่ ในเช้ามืดของวันรุ่งขึ้นเราจึงตื่นเช้าเป็นพิเศษ อากาศยามเช้าเย็นสบาย แสงแดดกำลังค่อยๆสาดเข้ามาในห้องอย่างช้าๆ ดิฉันนอนทบทวนถึงแผนการท่องเที่ยวของเราครั้งนี้ และยอมรับว่า สิ่งที่น่าเสียใจสำหรับการมาเมืองนี้สำหรับดิฉันก็คือ การที่ต้องรีบตื่นแต่เช้าเพื่อให้ทันขึ้นรถไฟเที่ยวแรกที่เราจองไว้ การวางแผนมาครั้งนี้เราทำผิดที่ให้เวลากับเมืองนี้น้อยไป เพราะไม่เคยรู้ข้อมูลของที่นี่มาก่อน จึงมุ่งจะไปเมืองอื่นโดยเร็ว การที่ต้องรีบจากเมืองนี้จึงเป็นความผิดหวังเล็กๆของเราในเช้าที่แสนสวยนี้
หลายคนอาจสงสัยว่าไปเหนื่อยมาจากไหนจึงรีบเข้านอน อยากเรียนให้ทราบว่าในเมืองนี้ไม่มีสถานบันเทิงเริงรมณ์ไว้บริการ มีเพียงร้านเกมปาจิงโก๊ะ แบบโบราณอยู่เท่านั้น และกฎระเบียบของบ้านพักทุกหลังคือ ประตูบ้านจะปิดประมาณ 3-4 ทุ่ม ดังนั้น อาบน้ำเสร็จก็เข้านอนมองหน้ากันจะดีกว่า ขืนออกไปท่องราตรี อาจมีสิทธิ์เข้าบ้านไม่ได้ อากาศข้างนอกก็หนาวเอามากๆด้วย ขอนอนอุ่นๆดีกว่า
ความที่เข้านอนไม่ดึกมาก เราจึงรู้สึกสดชื่นเพราะได้พักอย่างเต็มที่ ในเช้ามืดของวันรุ่งขึ้นเราจึงตื่นเช้าเป็นพิเศษ อากาศยามเช้าเย็นสบาย แสงแดดกำลังค่อยๆสาดเข้ามาในห้องอย่างช้าๆ ดิฉันนอนทบทวนถึงแผนการท่องเที่ยวของเราครั้งนี้ และยอมรับว่า สิ่งที่น่าเสียใจสำหรับการมาเมืองนี้สำหรับดิฉันก็คือ การที่ต้องรีบตื่นแต่เช้าเพื่อให้ทันขึ้นรถไฟเที่ยวแรกที่เราจองไว้ การวางแผนมาครั้งนี้เราทำผิดที่ให้เวลากับเมืองนี้น้อยไป เพราะไม่เคยรู้ข้อมูลของที่นี่มาก่อน จึงมุ่งจะไปเมืองอื่นโดยเร็ว การที่ต้องรีบจากเมืองนี้จึงเป็นความผิดหวังเล็กๆของเราในเช้าที่แสนสวยนี้
เราเปลี่ยนเสื้อจากชุดยูกาตะมาใส่กางเกงยีนส์
เสื้อยืด ชุดเดิม สวมแจ๊กเก๊ตกันหนาว และหิ้วกระเป๋าเตรียมเดินทาง เมื่อมาถึงประตูหน้าบ้าน
รองเท้าผ้าใบของเราถูกนำมาวางเรียงไว้ให้อย่างเรียบร้อย ขณะนั่งใส่รองเท้า ดิฉันมองเกี๊ยะไม้อย่างอาลัย
อาวรณ์ ถึงเวลาต้องทิ้งเกี๊ยะก๊อกแก๊กไว้ที่นี่
น่าเสียดายที่เพิ่งจะคุ้นกับมันก็ต้องจากกันไปแล้ว
เช้าอย่างนี้เมืองทั้งเมืองสงบนิ่งอยู่ในแสงอาทิตย์อ่อนๆที่ส่องมา
ดิฉันแอบลาจากเมืองนี้ไปอย่างเงียบๆ ความเงียบของถนนดูจะเป็นสิ่งที่ดีสำหรับความรู้สึกของคนที่กำลังจะจากไปอย่างดิฉัน รู้สึกเหมือนไม่อยากให้ใครตื่นมารู้ว่าเรากำลังจะไป
รถไฟค่อยๆเคลื่อนออกจากสถานี ศาลาน้ำพุร้อนที่ปราศจากผู้คนกำลังห่างออกไปทุกที ขณะรถไฟแล่นจากเมืองไปช้าๆ ดิฉันยืนมองออกไปนอกหน้าต่างรถ
รู้สึกเหงาเหมือนคนกำลังอกหัก ส่งสายตาอำลาอย่างอาลัยอาวรณ์ จนเมืองเล็กในฝันลับหายไปกับกาลเวลา
ซาโยนาระ คิโนซากิ ซัง
ผู้เขียน เสียดาย....ที่ต้องจากเมืองนี้เร็วเกินไป
ตอบลบแต่ผู้อ่าน เสียดาย.....ที่ยังไม่มีโอกาสไปสัมผัสเมืองนี้จ้ะ
สวัสดีค่ะ เมืองน่ารักมาก ต้องหาโอกาสไปให้ได้
ตอบลบขอทราบชื่อที่พักได้มั้ย เผื่อมีโอกาสไปจะได้จองที่นี่บ้าง ^ ^